Jump to content

ພະບາດສົມເດັດພະປົກເກົ້າເຈົ້າຢູ່ຫົວ

ຈາກ ວິກິພີເດຍ
ພະບາດສົມເດັດພະປົກເກົ້າເຈົ້າຢູ່ຫົວ
ພະບາດສົມເດັດພະປົກເກົ້າເຈົ້າຢູ່ຫົວ: imago
ພະບາດສົມເດັດພະປົກເກົ້າເຈົ້າຢູ່ຫົວ: imago
ພະບາດສົມເດັດພະປົກເກົ້າເຈົ້າຢູ່ຫົວ: subscriptio
ພະບາດສົມເດັດພະປົກເກົ້າເຈົ້າຢູ່ຫົວ: subscriptio
ເກີດ: 8 ພະຈິກ 1893; ພະບໍລົມມະຫາລາຊະວັງ
ເຖິງແກ່ກຳ: 30 ພຶດສະພາ 1941; Surrey
ປະເທດ: ປະເທດໄທ
ຊື່ເກິດ: ประชาธิปกศักดิเดชน์ ชเนศรมหาราชาธิราช จุฬาลงกรณนารถวโรรส อุดมยศอุกฤษฐศักดิ์ อุภัยปักษนาวิล อสัมภินชาติพิสุทธ์ มหามงกุฎราชพงษบริพรรต บรมขัตติยมหารชดาภิสิญจนพรรโษทัย มงคลสมัยสมากร สถาวรวรัจฉริยคุณ อดุลยราชกุมาร

ຂໍ້​ມູນຢ່າງເປັນທາງການ

ຕຳແໜ່ງ: King of Thailand
ອາຊີບ: sovereign, monarch, ນັກການເມືອງ, ນັກດົນຕີ, social worker, military officer

ສະມາຄົມ

ຄວາມຊງຈຳ

ລາງວັນ: Royal Order of the Seraphim, Order of the Royal House of Chakri, Order of the Nine Gems, Order of Chula Chom Klao, Order of the White Elephant, Order of the Crown of Thailand, Knight of the Order of the Most Holy Annunciation, Knight Grand Cross of the Order of Saints Maurice and Lazarus, Knight grand cross of the order of the crown of Italy, Order of the Elephant, Grand Cordon of the Supreme Order of the Chrysanthemum, Order of Rama, Order of the Chrysanthemum, Grand Cross of the Legion of Honour, Order of Leopold, Order of the Netherlands Lion, Order of the Bath, Order of the White Lion, Order of St. Olav, Order of Propitious Clouds, Order of Saint-Charles, Hungarian Order of Merit, Ratana Varabhorn Order of Merit, Dushdi Mala Medal, Chakra Mala Medal, Royal Cypher Medal, Queen's Medal, Rajaniyom Medal, War Medal of B.E. 2461, Safeguarding the Constitution Medal, Chakrabarti Mala Medal
ຝັງ: Wat Ratchabophit, Chakri Maha Prasat Throne Hall

Insignia heraldica

ພະບາດສົມເດັດພະປົກເກົ້າເຈົ້າຢູ່ຫົວ: insigne
ພະບາດສົມເດັດພະປົກເກົ້າເຈົ້າຢູ່ຫົວ: insigne

ພະບາດສົມເດັດພະປໍຣະມິນມະຫາປະຊາທິປົກຯ ພະປົກເກົ້າເຈົ້າຢູ່ຫົວ ມີພະນາມເດີມວ່າ ສົມເດັດພະເຈົ້າລູກຍາເທີ ເຈົ້າຟ້າປະຊາທິປົກສັກດິເດດ (ໄທ:พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปกฯ พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว) (ໄທ: สมเด็จเจ้าฟ้าประชาธิปกศักดิเดชน์ ສົມເດັຈເຈົ້າຟ້າປຣະຊາທິປົກສັກດິເດຊນ໌) ແມ່ນພະມະຫາກະສັດໃນລາຊະວົງຈັກກີ ລຳດັບທີ່ 7 ແຫ່ງລາຊະອານາຈັກສະຫຍາມ ສະເດັດພະລາຊະສົມພົບເມື່ອວັນພຸດ ແຮມ 14 ຄ່ຳ ເດືອນ 11 ປີມະເສັງ ເວລາ 12.25 ຫຼືກົງກັບວັນທີ່ 8 ພຶດສະຈິກາ ຄ.ສ.1893 ພະອົງເປັນພະລາຊະໂອລົດອົງທີ່ 76 ໃນພະບາດສົມເດັດພະຈຸລະຈອມເກົ້າເຈົ້າຢູ່ຫົວ ເປັນປີທີ່ 9 ໃນສົມເດັດພະສີພັດຊະຣິນທາບໍຣົມລາຊີນີນາດ ພະບໍຣົມລາຊະຊົນນະນີພັນປີຫຼວງ (ສົມເດັດພະນາງເຈົ້າເສົາວະພາຜ່ອງສີ ພະບໍຣົມລາຊິນີນາດ) ພະບາດສົມເດັດພະປົກເກົ້າເຈົ້າຢູ່ຫົວຂຶ້ນຄອງລາດເປັນພະມະຫາກະສັດ ເມື່ອວັນທີ່ 26 ພຶດສະຈິກາ ຄ.ສ.1925 ແລະຊົງສະຫຼະລາຊະບັນລັງເມື່ອວັນທີ່ 2 ມີນາ ຄ.ສ.1934 (ນັບສັກກະຫຼາດແບບເກົ່າ) ຮວມສິຣິລາຊະສົມບັດ 9 ປີ ສະເດັດສະຫວັນຄົດ ເມື່ອວັນທີ່ 30 ພຶດສະພາ ຄ.ສ.1941 ຮວມພະຊົນມະພັນສາ 48 ພັນສາ

ພະອົງປະຕິບັດພະລາຊະກໍລະນີຍະກິດຫຼາຍດ້ານ ເຊັ່ນ ດ້ານການປົກຄອງ ໂປດໃຫ້ຕັ້ງສະພາກຳມະການອົງຄະມົນຕີ ຊົງກາກົດໝາຍເພື່ອຄວບຄຸມການຄ້າທີ່ເປັນສາທາລະນູປະໂພກແລະການເງິນລະບົບເທດສະບານ ດ້ານການສາດສະໜາ ການສຶກສາ ປະເພນີແລະວັດທະນະທຳນັ້ນ ພະອົງໂປດໃຫ້ສ້າງຫໍພະສະໝຸດ ຊົງປະຕິຮູບການສຶກສາລະດັບມະຫາວິທະຢາໄລ ນອກຈາກນີ້ມີການປັບປຸງການສຶກສາຈົນຍົກລະດັບມາດຕະຖານເຖິງປະລິນຢາຕີ ຊົງຕັ້ງລາຊະບັນດິດຍະສະພາໂປດໃຫ້ຈັດພິມພະໄຕປິດົກສະບັບອັກສອນໄທສົມບູນຊື່ວ່າ "ພະໄຕປິດົກສະຫຍາມຣັດ"

ສຳລັບຊີວິດສ່ວນພະອົງນັ້ນ ພະບາດສົມເດັດພະປົກເກົ້າເຈົ້າຢູ່ຫົວຊົງອະພິເສກສົມລົດກັບສົມເດັດພະນາງເຈົ້າຣຳໄພພັນນີ ພະບໍຣົມລາຊິນີ (ໝ່ອມເຈົ້າຍິງຣຳໄພພັນນີ ສະຫວັດດິວັດ ຫຼື ທ່ານຍິງນາ) ບໍ່ມີພະລາຊະໂອລົດແລະພະລາຊະທິດາ ແຕ່ມີພະລາຊະໂອລົດບຸນທຳຄື ພະວໍລະວົງເທີ ພະອົງເຈົ້າຈິຣະສັກສຸປະພາດ

ແລະພະອົງໄດ້ຮັບການຍົກຍ່ອງຈາກອົງການຍູເນສໂກ (UNESCO) ໃຫ້ເປັນບຸກຄົນສຳຄັນຂອງໂລກ ເມື່ອວັນທີ່ 8 ພຶດສະຈິກາ ຄ.ສ.1993 ເນື່ອງໃນວະໂຣກາດສະຫຼອງວັນພະລາຊະສົມພົບຄົບ 100 ປີ

ພະປົກເກົ້າ ລັດຊະການທີ່ 7

ພະລາຊະປະຫວັດ

[ດັດແກ້]
ເຈົ້າຟ້າປະຊາທິປົກສັກດິເດດແລະພະລາຊະມານດາ

ພະບາດສົມເດັດພະປົກເກົ້າເຈົ້າຢູ່ຫົວແມ່ນພະລາຊະໂອລົດພະອົງໜ້ອຍໃນພະບາດສົມເດັດພະຈຸລະຈອມເຈົ້າຢູ່ຫົວທີ່ປະສູດແຕ່ສົມເດັດພະສີພັດຊະຣິນທາບໍຣົມລາຊິນີນາດ ພະບໍຣົມລາຊະຊົນນະນີພັນປີຫຼວງ ຊົງພະລາຊະສົມພົບເມື່ອວັນພຸດ ແຮມ 14 ຄ່ຳ ເດືອນ 11 ປີມະເສັງ ກົງກັບວັນທີ່ 8 ພຶດສະຈິກາ ຄ.ສ.1893 ນະ ພະທີ່ນັ່ງສຸດທາສີພິຣົມ ພະບາດສົມເດັດພະຈຸລະຈອມເກົ້າຢູ່ຫົວພະລາຊະທານພະນາມວ່າ "ສົມເດັດພະເຈົ້າລູກຢາເທີ ເຈົ້າຟ້າປະຊາທິປົກສັກດິເດດ ຊະເນດມະຫາລາຊາທິລາດ ຈຸລາລົງກອນນາດວະໂຣລົດ ອຸດົມຍົດອຸກິດຖະສັກ ມະຫາມຸງກຸດລາຊະພົງບໍລິບັນບໍລິພັດ ບໍຣົມຂັດຕິຍະມະຫາລະຊະດາພິສິນຈະນະພັນໂສໄທ ມົງຄົນສະໄໝສະມາກອນ ສະຖາວໍລະວະຣັດສະຣິຍະຄຸນ ອະດຸນຍະລາຊະກຸມານ"[1] ພະນາມທົ່ວໄປຮຽກວ່າ "ທຸນກະໝ່ອມອຽດໜ້ອຍ"[2]

ພະອົງມີສົມເດັດພະເຊດຖາແລະສົມເດັດພະເຊດຖະພະຄິນີຮວມ 7 ພະອົງ ໄດ້ແກ່

  1. ສົມເດັດພະເຈົ້າບໍລົມວົງເທີ ເຈົ້າຟ້າກົມພະເທບນາຣີຣັດ
  2. ພະບາດສົມເດັດພະມຸງກຸດເກົ້າເຈົ້າຢູ່ຫົວ
  3. ສົມເດັດພະເຈົ້າບໍລົມວົງເທີ ເຈົ້າຟ້າຕີເພັດຊະຣຸດທຳລົງ
  4. ສົມເດັດພະອະນຸຊາທິລາດ ເຈົ້າຟ້າຈັກກະພົງພູວະນາດ ກົມມະຫຼວງພິດສະນຸໂລກປະຊານາດ
  5. ສົມເດັດພະເຈົ້າບໍຣົມວົງເທີ ເຈົ້າຟ້າສິຣິລາດກະກຸທະພັນ
  6. ສົມເດັດພະອະນຸຊາທິລາດ ເຈົ້າຟ້າອັດສະດາງເດຊາວຸດ ກົມມະຫຼວງນະຄອນລາຊະສີມາ
  7. ສົມເດັດພະບໍຣົມວົງເທີ ເຈົ້າຟ້າຈຸທາທຸດທາດິຫຼົກ ກົມມະຂຸນເພັດຊະບູນອິນທາໄຊ

ເມື່ອພະອົງຈະເລີນວັຍຄົບກຳໜົດທີ່ຈະຕັ້ງການພິທີໂສກັນ (ໂກນຈຸກ) ແລະພະລາຊະທານພະສຸພັນນະບັດຕາມຂັດຕິຍະລາຊະປະເພນີແລ້ວ ພ້ອມກັນນີ້ພະອົງເຈົ້າອຸຣຸພົງລາຊະສົມໂພດ ກໍມີພະຊົນຄົບກຳໜົດພິທີໂສກັນເຊັ່ນກັນ ພະບາດສົມເດັດພະຈຸລະຈອມເກົ້າເຈົ້າຢູ່ຫົວຈຶງຊົງພະກະລຸນາໂປດເກົ້າ ໃຫ້ຈັດການໂສກັນແລະສະເຫຼີມພະນາມຂອງທັງສອງພະອົງຂຶ້ນພ້ອມກັນບໍລິເວນພະທີ່ນັ່ງດຸສິດມະຫາປາສາດ ເມື່ອວັນທີ່ 4 ມີນາ ຄ.ສ. 1905[3] ໂດຍພະອົງໄດ້ຮັບການສະຖາປະນາເປັນເຈົ້າຟ້າຕ່າງກົມທີ່ ສົມເດັດພະເຈົ້າລູກຍາເທີ ເຈົ້າຟ້າກົມມະຂຸນສຸໂຂໄທທຳມະລາຊາ ມີພະນາມຕາມຈາຣຶກໃນພະສຸພັນນະບັດວ່າ "ສົມເດັດພະເຈົ້າລູກຍາເທີ ເຈົ້າຟ້າປະຊາທິປົກສັກດິເດດ ກົມມະຂຸນສຸໂຂໄທທຳມະລາຊາ ຊະເນດມະຫາລາຊາທິລາດ ຈຸລາລົງກອນນາດວະໂລລົດ ອຸດົມຍົດອຸກິດຖະສັກ ອຸໄພປັກສະນາວິນ ອະສຳພິນນະຊາດພິສຸດ ມະຫາມຸງກຸດລາຊະພົງບໍລິພັດ ບໍລົມຂັດຕິຍະມະຫາລັດຊະດາພິສິນພັນໂສໄທ ມົງຄົນສະໄໝສະມາກອນ ສະຖາວອນວະລັດສະລິຍະຄຸນ ອະດຸນຍະລາຊະກຸມານ ກົມມະຂຸນສຸໂຂໄທທຳມະລາຊາ"[4]

ການສຶກສາ

[ດັດແກ້]

ເມື່ອພະອົງຈະເລີນພະຊັນສາພໍສົມຄວນຊົງເຂົ້າຮັບການສຶກສາຕາມປະເພນີຂັດຕິຍະລາຊະກຸມານແລະຈຶງຊົງພະກະລຸນາໂປດເກົ້າໃຫ້ເປັນນັກຮຽນນາຍຮ້ອຍພິເສດ ຕໍ່ມາ ຄັ້ງຊົງໂສກັນແລ້ວສະເດັດໄປສຶກສາວິຊາການທີ່ປະເທດອັງກິດ ເມື່ອກໍລະກົດ ຄ.ສ. 1906 ໃນຂະນະນັ້ນມີພະຊົນມາຍຸພຽງ 13 ພັນສາ ຊົງເລິ່ມຮັບການສຶກສາໃນວິຊາສາມັນໃນວິທະຍາໄລອີຕັນເຊິ່ງເປັນໂຮງຮຽນມັດທະຍົມຊັ້ນນຶ່ງຂອງປະເທດ ເມື່ອສຳເລັດການສຶກສາຈາກວິທະຍາໄລອີຕັນແລ້ວ ຊົງສອບເຂົ້າສຶກສາວິຊາທະຫານທີ່ໂຮງຮຽນນາຍຮ້ອຍທະຫານ(Royal Military Academy Council) ນະ ເມືອງ ວູລິຊ ຊົງເລືອກສຶກສາວິຊາທະຫານຜະແໜກປືນໃຫຍ່ມ້າ ແຕ່ໃນຂະນະນັ້ນພະບາດສົມເດັດພະຈຸລະຈອມເກົ້າຢູ່ຫົວສະເດັດສະຫວັນຄົດໃນປີ ຄ.ສ. 1910 ພະອົງຈຶ່ງໄດ້ສະເດັດກັບປະເທດໄທເພື່ອເຂົ້າຮ່ວມພະລາຊະພິທີຖະຫວາຍພະເພີງພະບໍລົມສົບ ແລະຖະຫວາຍງານຄັ້ງສຸດທ້າຍແດ່ສົມເດັດພະບໍລົມຊະນົກນາດດ້ວຍປະຄອງພະບໍລົມໂກດຄູ່ກັບສົມເດັດພະມະຫິດຕະລາທິເບດ ອະດຸນຍະເດດວິກົມ ພະບໍລົມລາຊະຊະນົກ ຂະນະເຊີນພະບໍລົມສົບວຽນພະເມຣຸມາດ[5] ແລ້ວຈຶ່ງສະເດັດກັບໄປສຶກສາຕໍ່ໃນປີ ຄ.ສ. 1913 ພາຍຫຼັງຊົງເຂົ້າປະຈຳການ ນະ ກົມທະຫານປືນໃຫຍ່ມ້າອັງກິດຢູ່ທີ່ເມືອງອັນເດີຊອດ (Aldershot) ຕັ້ງແຕ່ເດືອນກຸມພາ ຄ.ສ. 1913 ຮອດເດືອນກັນຍາ ຄ.ສ. 1914 ເຊິ່ງເປັນຊ່ວງເວລາການຊ້ອມຮົບ ໂດຍລັດຖະບານອັງກິດຕາມຄວາມເຫັນຊອບຂອງທີ່ປະຊຸມກອງທະຫານ (Army Council) ແລະໄດ້ຮັບອະນຸຢາດໃຫ້ຊົງເຄື່ອງແບບນາຍທະຫານອັງກິດສັງກັດໃນ “L” Battery Royal Horse Artillery ຊົງໄດ້ຮັບສັນຍາບັດເປັນນາຍທະຫານຍົດຮ້ອຍຕີກິດຕິສັບແຫ່ງກອງທັບອັງກິດ ແລະໃນການທີ່ພະອົງສຳເລັດການສຶກສາ ພະບາດສົມເດັດພະມົງກຸດເກົ້າເຈົ້າຢູ່ຫົວໂປດເກົ້າ ໃຫ້ດຳລົງຕຳແໜ່ງພະຍົດນາຍຮ້ອຍຕີນອກກອງ ສັງກັດກົມທະຫານມະຫາດເລັກຮັກສາພະອົງ ຕໍ່ມາໄດ້ເລື່ອນຂຶ້ນເປັນນາຍຮ້ອຍໂທແລະນາຍທະຫານນອກກອງ ສັງກັດກົມທະຫານປືນໃຫຍ່ຮັກສາພະອົງ[6]

ໃນປີ ຄ.ສ. 1913 ໄດ້ເກີດສົງຄາມໂລກຄັ້ງທີ່ໜຶ່ງຂຶ້ນໃນເອີລົບ ແຕ່ເນື່ອງຈາກພະບາດສົມເດັດພະມົງກຸດເກົ້າເຈົ້າຢູ່ຫົວ ຊົງດຳລິເຫັນວ່າ ສົມເດັດພະເຈົ້ານ້ອງຍາເທີ ຍັງບໍ່ສຳເລັດການສຶກສາວິຊາການທະຫານ ຫາກຈະກັບມາເມືອງໄທກໍຍັງເຮັດຄຸນປະໂຍດແກ່ບ້ານເມືອງຍັງບໍ່ໄດ້ເຕັມທີ່ ດັງນັ້ນຈຶ່ງໂປດເກົ້າ ໃຫ້ພະວໍລະວົງເທີ ພະອົງເຈົ້າຈະລູນສັກກີດາກອນ ຊົງຈັດຫາຄູສອນເພື່ອສອນວິຊາການເພີ່ມເຕິມໂດຍເນັ້ນວິຊາທີ່ຈະເປັນຄຸນປະໂຍດແກ່ບ້ານເມືອງ ໃນວິຊາກົດໝາຍລະຫວ່າງປະເທດ ພົງສາວະດານສຶກ ແລະຍຸດທະສາດການສຶກ

ຄັ້ງສົງຄາມໄດ້ທະວີຄວາມຮຸນແຮງຂຶ້ນຢ່າງຫຼາຍ ແລະການຫາຄູມາຖະຫວາຍພະອັກສອນກໍລຳບາກ ເນື່ອງດ້ວຍນາຍທະຫານທີ່ມີຄວາມສາມາດຕ້ອງອອກຮົບໃນສົງຄາມ ພະບາດສົມເດັດພະມົງກຸດເກົ້າເຈົ້າຢູ່ຫົວ ຈຶ່ງໂປດເກົ້າ ໃຫ້ພະເຈົ້ານ້ອງຍາເທີພະລາຊະດຳເນິນ ແຕ່ສົມເດັດພະເຈົ້ານ້ອງຍາເທີມີຄວາມປະສົງທີ່ຈະສະເດັດຮ່ວມຮົບກັບພະສະຫາຍຊາວອັງກິດ ຫາກແຕ່ສົມເດັດພະເຈົ້າຈອດທີ 5 ແຫ່ງສະຫະລາຊະອານາຈັກ ບໍ່ສາມາດເຮັດຕາມພະລາຊະປິສົງ ເນື່ອງດ້ວຍພະອົງເປັນຄົນໄທເຊິ່ງເປັນປະເທດເປັນກາງໃນສົງຄາມ ສົມເດັດພະເຈົ້ານ້ອງຍາເທີຈຶ່ງຈຳເປັນຕ້ອງສະເດັດກັບປະເທດໄທໃນເດືອນເມສາ ຄ.ສ. 1914

ເຂົ້າຮັບລາຊະການ

[ດັດແກ້]
ສົມເດັດພະເຈົ້ານ້ອງຍາເທີ ເຈົ້າຟ້າກົມມະຂຸນສຸໂຂໄທທຳມະລາຊາແລະໝ່ອມເຈົ້າຣຳໄພພັນນີ ພະວໍລະຊາຍາ ໃນວັນພະລາຊະພິທີອະພິເສກສົມລົດ
พระมหากษัตริย์ราชวงศ์จักรี
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
ຮູບ:รามาธิบดี 8.JPGพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล
ຮູບ:รามาธิบดี 9.JPGพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
ຮູບ:Rama10.JPGพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว

ຄັ້ນເມື່ອສະເດັດກັບປະເທດໄທ ພະອົງເຂົ້າຮັບລາຊະການໃນຕຳແໜ່ງນາຍທະຫານຄົນສະໜິດພິເສດຂອງຈອມພົນ ສົມເດັດພະອະນຸຊາທິລາດ ເຈົ້າຟ້າກົມມະຫຼວງພິດສະນຸໂລກປະຊານາດ ເຊິ່ງເປັນພະເຊດຖາ (ອ້າຍ) ໃນພະອົງ ຕໍ່ມາພະອົງໄດ້ເລື່ອນເປັນຜູ້ບັງຄັບກອງຮ້ອຍທະຫານປືນໃຫຍ່ຮັກສາພະອົງແລະເປັນຮ້ອຍເອກຕໍ່ມາສະເດັດເຂົ້າຮັບລາຊະການປະຈຳກົມບັນຊາການກອງພັນນ້ອຍທີ່ 2 ໃນຕຳແໜ່ງນາຍທະຫານເສນາທິການແລະຕໍ່ມາເລື່ອນເປັນນາຍພັນຕີ ແລ້ວເປັນພັນໂທບັງຄັບການໂຮງຮຽນນາຍຮ້ອຍຊັ້ນປະຖົມ

สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอทรงปฏิบัติราชการสนองพระเดชพระคุณในตำแหน่งหน้าที่การงานต่าง ๆ เป็นที่เรียบร้อยมาโดยตลอด ต่อมาทรงลาราชการเพื่อผนวช ณ อุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม เมื่อปี พ.ศ. 2460 โดยมีสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส เป็นพระอุปัชฌาย์ และพระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นชินวรสิริวัฒน์ (ต่อมาคือพระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า) เป็นพระกรรมวาจาจารย์ แล้วเสร็จประทับจำพรรษา ณ พระตำหนักปั้นหยา วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร[7] ทรงได้รับฉายาว่า "ปชาธิโป" ในระหว่างที่ผนวชนั้น สมเด็จพระอุปัชฌาย์ทรงปรารภว่า พระองค์นั้นเป็นพระอนุชาพระองค์เล็ก ถึงอย่างไรก็คงไม่มีเหตุจำเป็นที่จะต้องเสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติเป็นแน่ ดังนั้น จึงทรงชวนให้พระองค์อยู่ในสมณเพศตลอดไป เพื่อจะได้ช่วยปกครองสังฆมณฑลสืบไป แต่พระองค์ได้ปฏิเสธ เนื่องจากในขณะนั้นพระองค์ทรงพอพระทัยที่จะอภิเษกสมรสกับหม่อมเจ้ารำไพพรรณี สวัสดิวัตน์ มากกว่า[8][9]

เมื่อสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอลาผนวชและเสด็จเข้ารับราชการแล้ว พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวตรัสขอหม่อมเจ้ารำไพพรรณี สวัสดิวัตน์ ต่อสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสวัสดิโสภณ กรมพระสวัสดิวัดนวิศิษฎ์ และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ประกอบพระราชพิธีอภิเษกสมรสพระราชทาน โดยมีพิธีขึ้นตำหนัก ณ วังศุโขทัย ซึ่งพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานที่ดินให้และสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง โปรดเกล้าฯ ให้สร้างตำหนักขึ้นพระราชทานเป็นเรือนหอ และมีพระราชพิธีอภิเษกสมรส ณ พระที่นั่งวโรภาษพิมาน พระราชวังบางปะอิน เมื่อวันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2461 ซึ่งนับเป็นการอภิเษกสมรสครั้งแรกหลังจากการตรากฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการเสกสมรสแห่งเจ้านายในพระราชวงศ์ รวมทั้ง ยังเป็นการแต่งงานแบบตะวันตกอย่างแท้จริง กล่าวคือมีการถามความสมัครใจของคู่บ่าวสาวด้วย[10][11]

พระองค์ทรงพระประชวรเรื้อรังจึงจำเป็นต้องลาราชการไปพักรักษาพระองค์ในสถานที่ที่มีอากาศเย็นตามความเห็นของคณะแพทย์ พระองค์จึงเสด็จไปรักษาพระองค์ที่ทวีปยุโรปในปี พ.ศ. 2463 ครั้นพระองค์ทรงหายจากอาการประชวรแล้ว ทรงเข้าศึกษาวิชาการในโรงเรียนนายทหารฝ่ายเสนาธิการฝรั่งเศส ณ กรุงปารีส จนสำเร็จการศึกษาเสด็จกลับประเทศไทย ในปี พ.ศ. 2464 หลังจากนั้นอีก 4 ปี ทรงเข้ารับราชการอีกครั้ง โดยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เข้ารับราชการในตำแหน่งปลัดกรมเสนาธิการทหารบก และเลื่อนพระยศขึ้นเป็นนายพันเอก ผู้บัญชาการกองพลทหารบกที่ 2 และเป็นผู้บังคับการพิเศษกรมทหารปืนใหญ่ที่ 2 ในคราวเดียวกัน

พระองค์ทรงปฏิบัติราชการโดยพระวิริยะอุตสาหะ ปรากฏพระเกียรติคุณและสติปัญญาจนสามารถรับราชการสำคัญสนองพระเดชพระคุณต่างพระเนตรพระกรรณได้ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงมีพระบรมราชโองการให้เลื่อนกรมขึ้นเป็น สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงสุโขทัยธรรมราชา เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468[6] ก่อนพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวจะเสด็จสวรรคตเพียงไม่กี่วัน

ขึ้นครองราชสมบัติ

[ດັດແກ້]
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปกในฉลองพระองค์เต็มยศตามโบราณราชประเพณี ประทับเหนือพระที่นั่งภัทรบิฐ แวดล้อมด้วยชาวพนักงานถือเบญจราชกกุธภัณฑ์และเครื่องยศเครื่องสูง

ก่อนที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวจะสวรรคตได้มีพระราชหัตถเลขานิติกรรมเกี่ยวกับการสืบราชสมบัติไว้ ความตอนหนึ่งว่า

...หากมีพระราชโอรส ก็ให้สมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงสุโขทัยธรรมราชาทรงเป็นประธานคณะผู้สำเร็จราชการต่างพระองค์จนกว่าพระมหากษัตริย์จะทรงบรรลุนิติภาวะ แต่ถ้าไม่มีพระราชโอรสก็ใคร่ให้สมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงสุโขทัยธรรมราชาทรงรับรัชทายาทสืบสันตติวงศ์ตามราชประเพณี...

— พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว[12]

ขณะที่พระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี มีพระประสูติกาลพระราชธิดาพระองค์เดียว (สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี ในปัจจุบัน) พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวประชวรและเสด็จสวรรคตในวันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468 สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าฯ กรมหลวงสุโขทัยธรรมราชา ได้เสด็จ ณ พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัยมไหยสูรยพิมาน ทรงแจ้งข่าวสวรรคตต่อที่ประชุมพระบรมวงศานุวงศ์เสนาบดีและองคมนตรีผู้ใหญ่แล้ว เจ้าพระยาธรรมาธิกรณาธิบดี (หม่อมราชวงศ์ปุ้ม มาลากุล) เสนาบดีกระทรวงวังในขณะนั้น ได้อัญเชิญพระราชหัตถเลขาพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวอ่านในที่ประชุม เสร็จแล้วผู้เข้าประชุมได้พร้อมกันถวายอาเศียรวาทแต่สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าฯ กรมหลวงสุโขทัยธรรมราชา ซึ่งรับเป็นสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สำเร็จราชการแผ่นดินสืบราชสันตติวงศ์ต่อไป[13] ทั้งที่ไม่ได้ทรงเต็มพระทัยที่จะทรงรับราชสมบัติ ด้วยทรงเห็นว่าพระองค์ไม่แก่ราชการเพียงพอและเจ้านายที่มีอาวุโสพอจะรับราชสมบัติก็ยังน่าจะมี[14]

เมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2469 สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรับพระบรมราชาภิเษกโดยมีพระนามอย่างย่อว่า พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปก พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระนามตามจารึกในพระสุพรรณบัฏว่า[15]

"พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปก มหันตเดชนดิลกรามาธิบดี เทพยปรียมหาราชรวิวงศ อสัมภินพงศพีระกษัตร บุรุษรัตนราชนิกโรดม จาตุรันตบรมมหาจักรพรรดิราชสังกาศ อุภโตสุชาตสำสุทธเคราหณีจักรีบรมนาถ จุฬาลงกรณราชวรางกูร มหามกุฏวงศวีรสูรชิษฐ ราชธรรมทศพิธอุต์กฤษฎนิบุญ อดุลยฤษฎาภินิร์หาร บูรพาธิการสุสาธิตธันยลักษณ์วิจิตรเสาวภาคยสรรพางค์ มหาชโนตมางคมานท สนธิมตสมันตสมาคม บรมราชสมภาร ทิพยเทพาวตาร ไพศาลเกียรติคุณ อดุลยศักดิเดช สรรพเทเวศปริยานุรักษ มงคลลัคนเนมาหวัย สุโขทัยธรรมราชา อภิเนาวศิลปศึกษาเดชนาวุธ วิชัยยุทธศาสตรโกศล วิมลนรรยพินิต สุจริตสมาจาร ภัทรภิชญาณประดิภานสุนทร ประวรศาสโนปสดมภก มูลมุขมาตยวรนายกมหาเสนานี สราชนาวีพยูหโยธโพยมจร บรมเชษฐโสทรสมมต เอกราชยยศสธิคมบรมราชสมบัติ นพปฏลเศวตฉัตราดิฉัตร ศรีรัตโนปลักษณ มหาบรมราชาภิเษกาภิษิกต์ สรรพทศทิศวิชิตเดโชไชย สกลมไหศวรยมหาสวามินทร มเหศวรมหินทรมหารามาธิราชวโรดม บรมนาถชาติอาชันยาศรัย พุทธาทิไตรรัตนศรณารักษ วิศิษฎศักตอัครนเรศวราธิบดี เมตตากรุณาศีตลหฤทัย อโนปไมยบุณยการ สกลไพศาลมหารัษฎราธิบดินทร์ ปรมินทรธรรมิกมหาราชาธิราช บรมนาถบพิตร พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว"

ในการนี้พระองค์ได้สถาปนาหม่อมเจ้ารำไพพรรณี พระวรราชชายา ขึ้นเป็น สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี[15][16] ซึ่งนับเป็นพระอัครมเหสีพระองค์แรกที่ได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นสมเด็จพระบรมราชินีในการพระราชพิธีบรมราชาภิเษก[17]

หลังจากนั้น พระองค์ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งคณะอภิรัฐมนตรี อันประกอบด้วย สมเด็จพระราชปิตุลาบรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช, สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต, สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจิตรเจริญ กรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์, สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าดิศวรกุมาร กรมพระยาดำรงราชานุภาพ และพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ากิติยากรวรลักษณ์ กรมพระจันทบุรีนฤนาถ ซึ่งมีหน้าที่ถวายคำปรึกษาราชการแผ่นดินและราชการในพระองค์ระหว่างที่ยังทรงใหม่ต่อหน้าที่[18]

การเปลี่ยนแปลงการปกครอง

[ດັດແກ້]
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงลงพระปรมาภิไธยในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475

ในขณะที่พระองค์ขึ้นครองราชสมบัตินั้น ฐานะทางการคลังของสยามและสภาวะเศรษฐกิจทั่วโลกอยู่ในภาวะตกต่ำอย่างมาก พระองค์ได้ตัดลดงบประมาณในส่วนต่าง ๆ เช่น งบประมาณส่วนพระมหากษัตริย์ งบประมาณด้านการทหาร รวมถึง การการยุบหน่วยราชการและปลดข้าราชการออกเป็นจำนวนมากเพื่อลดรายจ่ายของประเทศ ทำให้เกิดความไม่พอใจอันเป็นสาเหตุหนึ่งที่นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงสยามในเวลาต่อมา[19] พระราชกรณียกิจประการหนึ่งที่ คือ พระองค์มีพระราชปรารภจะพระราชทานรัฐธรรมนูญการปกครองให้แก่สยาม โดยพระองค์ได้มอบหมายให้นายเรย์มอนด์ บาร์ทเล็ตต์ สตีเฟนส์ ที่ปรึกษานโยบายต่างประเทศชาวอเมริกัน และพระยาศรีวิสารวาจา ร่วมกันทำบันทึกความเห็นในเรื่องดังกล่าว [19] แต่ถูกทักท้วงจากพระบรมวงศ์ชั้นผู้ใหญ่จึงได้ระงับไปก่อน[20]

ร่างรัฐธรรมนูญของเรย์มอนด์ บี. สตีเวนส์และพระยาศรีวิสารวาจา พ.ศ. 2474 ที่เรียก An outline of changes in the form of government มีใจความว่า ให้พระมหากษัตริย์ยังคงเป็นหัวหน้าฝ่ายบริหารและรัฏฐาธิปัตย์ นายกรัฐมนตรีมาจากการแต่งตั้งของและต้องรับผิดชอบต่อพระมหากษัตริย์ มีสภานิติบัญญัติซึ่งสมาชิกมาจากการแต่งตั้งของพระมหากษัตริย์และการเลือกตั้งอย่างละเท่า ๆ กัน กรณีที่เกิดข้อพิพาทระหว่างสภากับนายกรัฐมนตรีให้พระมหากษัตริย์เป็นผู้ตัดสิน พระมหากษัตริย์มีอำนาจยับยั้ง และสามารถออกกฎหมายฉุกเฉินได้โดยไม่ต้องผ่านสภา[21]

ภายหลังงานเฉลิมฉลองกรุงรัตนโกสินทร์ครบรอบ 150 ปี พระองค์เสด็จแปรพระราชฐานไปยังวังไกลกังวล หัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ในระหว่างนั้นเองคณะราษฎรได้ทำการปฏิวัติยึดอำนาจการปกครองในวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 และได้เข้ายึดสถานที่สำคัญของทางราชการได้ รวมทั้ง ได้เชิญสมเด็จพระเจ้าพี่ยาเธอ เจ้าฟ้าฯ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต ผู้สำเร็จราชการพระนคร พร้อมกับพระบรมวงศานุวงศ์และข้าราชการชั้นผู้ใหญ่มาที่พระที่นั่งอนันตสมาคมเพื่อเป็นตัวประกัน[22]

เมื่อพระองค์ทรงทราบถึงเหตุการณ์ดังกล่าว พระองค์ตรัสเรียกพระบรมวงศานุวงศ์และเสนาบดีที่อยู่ที่หัวหินให้เข้าประชุมกันที่วังไกลกังวลเพื่อทรงหารือแนวทางต่าง ๆ ที่จะรับมือกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ในที่ประชุมนั้นแสดงความเห็นออกเป็นสองฝ่ายทั้งสนับสนุนให้ต่อสู้กับคณะราษฎรและฝ่ายที่เห็นว่าไม่ควรสู้ หลังจากนั้น พระองค์ตรัสว่า "เมื่อได้ฟังความเห็นของเจ้านายและเสนาบดีทั้งสองฝ่ายแล้ว ทรงเห็นว่าถ้าจะสู้ก็คงสู้ได้ แต่จะเสียเลือดเนื้อข้าแผ่นดินซึ่งเป็นคนไทยด้วยกัน"[23]

ท้ายที่สุด พระองค์ทรงตัดสินพระทัยที่จะอยู่ในราชสมบัติเป็นพระมหากษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญดังที่พระองค์ทรงสนับสนุนที่จะให้ประชาชนมีรัฐธรรมนูญมาโดยตลอด[24] พระองค์เสด็จกลับพระนครและได้พระราชทานพระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว ในวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2475 และพระราชทานรัฐธรรมนูญฉบับถาวรเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475

สละราชสมบัติ

[ດັດແກ້]

หลังจากเหตุการณ์การปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475 พระองค์เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินีไปเจริญทางพระราชไมตรีกับประเทศในแถบยุโรป พร้อมทั้งเสด็จประทับที่ประเทศอังกฤษ เพื่อทรงเข้ารับการผ่าตัดและรักษาพระเนตร ในการนี้ได้แต่งตั้งสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระนริศรานุวัดติวงศ์เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์[25] ในระหว่างนี้พระองค์ยังทรงติดต่อราชการกับรัฐบาลผ่านทางผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ซึ่งยังคงปรากฏข้อขัดแย้งต่าง ๆ ที่ไม่สามารถหาข้อยุติกันได้ โดยเฉพาะกรณีมีพระประสงค์ให้แก้ไขมาตรา 39 แห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม ให้กฎหมายใดที่ไม่ทรงลงพระปรมาภิไธยต้องเป็นอันตกไป และสภาผู้แทนราษฎรที่เสนอร่างกฎหมายนั้นต้องถูกยุบ แต่รัฐบาลและสมาชิกรัฐสภาไม่อาจยอมทำตามประสงค์นั้นได้ จึงมีพระราชดำริที่จะสละราชสมบัติ[26] รัฐบาลจึงตั้งคณะกรรมการขึ้นหนึ่งคณะโดยมีเจ้าพระยาศรีธรรมาธิเบศ (จิตร ณ สงขลา) ประธานสภาผู้แทนราษฎร ณ ขณะนั้น เป็นประธานคณะกรรมการ พร้อมกับพลเรือตรี หลวงธำรงนาวาสวัสดิ์ (ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์) และนายดิเรก ชัยนาม เดินทางมาเข้าเฝ้าฯ และไกล่เกลี่ยเพื่อกราบบังคมทูลให้เสด็จกลับประเทศไทย แต่การเจรจาไม่เป็นผลสำเร็จ[27] พระองค์ทรงตัดสินพระทัยสละราชสมบัติ เมื่อวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2477 (นับศักราชแบบเก่า) ในพระราชหัตถเลขาสละราชสมบัตินั้น ปรากฏข้อความที่ใช้อ้างอิงกันเสมอในเวลาต่อมาว่า

ข้าพเจ้ามีความเต็มใจที่จะสละอำนาจอันเป็นของ ข้าพเจ้าอยู่แต่เดิมให้แก่ราษฎรโดยทั่วไป แต่ข้าพเจ้าไม่ยินยอมยกอำนาจทั้งหลายของข้าพเจ้าให้แก่ผู้ใด คณะใดโดยเฉพาะเพื่อใช้อำนาจนั้นโดย สิทธิขาด และโดยไม่ฟังเสียงอันแท้จริงของราษฎร... ...บัดนี้ ข้าพเจ้าเห็นว่า ความประสงค์ของข้าพเจ้า ที่จะให้ราษฎรมีสิทธิออกเสียง ในนโยบายของประเทศไทยโดยแท้จริงไม่เป็นผลสำเร็จ และเมื่อข้าพเจ้ารู้สึกว่า บัดนี้ เปนอันหมดหนทาง ที่ข้าพเจ้าจะช่วยเหลือ ให้ความคุ้มครองแก่ประชาชนได้ต่อไปแล้ว ข้าพเจ้าจึงขอสละราชสมบัติ และออกจากตำแหน่งพระมหากษัตริย์ แต่บัดนี้เปนต้นไป

— ประชาธิปก ปร. [28][29]

หลังจากมีพระราชหัตเลขาสละราชสมบัติ พระองค์ทรงกลับไปใช้พระนามและพระราชอิสริยยศเดิม ได้แก่ สมเด็จเจ้าฟ้าประชาธิปกศักดิเดชน์ กรมหลวงสุโขทัยธรรมราชา มีคำนำหน้าพระนามว่า สมเด็จพระบรมราชปิตุลา[30] และไม่ทรงตั้งรัชทายาทเพื่อพระราชทานวโรกาสให้รัฐบาลและสภาผู้แทนราษฎรเป็นผู้คัดเลือกพระมหากษัตริย์พระองค์ใหม่เอง คณะรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบจากสภาผู้แทนราษฎรจึงได้อัญเชิญเสด็จพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอานันทมหิดล พระราชนัดดา (เหลน) พระองค์เดียวในสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า ซึ่งพระองค์เป็นเจ้านายเชื้อพระบรมวงศ์พระองค์ที่ 1 ในลำดับพระราชสันตติวงศ์แห่งกฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์ พ.ศ. 2467 ขึ้นทรงราชย์สืบพระราชสันตติวงศ์ต่อไป ตั้งแต่วันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2477 (นับศักราชแบบเก่า) [31]

สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินีทรงอัญเชิญพระบรมอัฐิพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวกลับสู่ประเทศไทย

พระชนมชีพหลังสละราชสมบัติ

[ດັດແກ້]

หลังการสละราชสมบัติ ทรงดำรงพระชนมชีพอย่างเงียบๆ และสำราญพระอิริยาบถกับพระบรมวงศานุวงศ์ใกล้ชิด อาทิ พระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี ในรัชกาลที่ 6 และ สมเด็จพระเจ้าภาติกาเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี ซึ่งเสด็จไปประทับที่พระตำหนักแฟร์ฮิลล์ ซึ่งห่างไปราว 40 กิโลเมตร พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์ พระภาติยะ พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจิรศักดิ์สุประภาต พระโอรสบุญธรรม และ พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพีระพงศ์ภาณุเดช โดยทรงโปรดกีฬากอล์ฟและเทนนิส โดยทรงโปรดให้จัดการแข่งขันเทนนิสขึ้นเป็นประจำที่ตำหนักเวอร์จิเนียวอเตอร์ โดยโปรดให้พระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี นำอาหารมาออกร้านพระราชทานเลี้ยงแก่บรรดาข้าราชการสถานทูตที่มาร่วมงาน เป็นที่สนุกสนาน[32] พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี และ พระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี ทั้งสามพระองค์ทรงเป็นดั่งศูนย์รวมพระทัยและศูนย์รวมใจของพระบรมวงศานุวงศ์และบรรดาคนไทยที่ไปทำงานหรือไปศึกษาในอังกฤษ เพราะ หากมีปัญหาขัดข้องเรื่องใดก็ตาม เพียงเข้าไปขอพึ่งพระมหากรุณา ก็จะทรงขจัดปัดเป่าให้หายสิ้นไปด้วยพระบารมี[33]

สวรรคต

[ດັດແກ້]

หลังจากที่พระองค์ทรงสละราชสมบัติแล้ว พระองค์ยังคงประทับอยู่ ณ ประเทศอังกฤษ แต่พระองค์ทรงพระประชวรอยู่เนือง ๆ โดย พ.ศ. 2480 พระองค์ทรงพระประชวรมากด้วยโรคตัวบิดเข้าไปอยู่ในพระยกนะ (ตับ) แต่แพทย์ได้รักษาจนเป็นปกติ พระอาการประชวรของพระองค์กำเริบหนักขึ้นโดยลำดับตั้งแต่ธันวาคม พ.ศ. 2483 แต่ก็เริ่มทุเลาขึ้นเรื่อยมา กระทั่งวันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2484 พระองค์เสด็จสวรรคตโดยฉับพลันด้วยพระหทัยวาย ขณะที่มีพระชนมายุ 48 พรรษา

สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินีทรงจัดการพระบรมศพเป็นการภายในโดยอัญเชิญพระบรมศพประดิษฐาน ณ พระตำหนักคอมพ์ตัน โดยรัฐบาลอังกฤษได้อนุญาตเป็นกรณีพิเศษในการประดิษฐานพระบรมศพเป็นเวลา 4 วันซึ่งตามปกติจะอนุญาตเพียงวันเดียว เพื่อให้ประยูรญาติที่อยู่ห่างไกลมาถวายบังคมลาเป็นครั้งสุดท้าย การจัดการพระบรมศพนั้นเป็นไปอย่างเงียบ ๆ โดยไม่มีการบำเพ็ญพระราชกุศลทางศาสนาพุทธเพราะไม่มีพระภิกษุ รวมทั้งไม่มีการพระราชพิธีอื่น ๆ ตามราชประเพณีด้วย[34]

หลังจากทราบข่าวการเสด็จสวรรคต สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดการบำเพ็ญพระราชกุศลทักษิณานุปทานอุทิศถวายพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวขึ้นที่พระอุโบสถ วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนารามราชวรวิหารตามราชประเพณี โดยมีคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ปฏิบัติพระราชกรณียกิจแทนพระองค์[35]

งานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ

[ດັດແກ້]

เมื่อได้ประดิษฐานพระบรมศพไว้ครบ 4 คืนเพื่อให้พระประยูรญาติที่อยู่ห่างไกลได้เสด็จมาเฝ้ากราบถวายบังคมลาเป็นครั้งสุดท้าย

ในวันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2484 ก็ได้อัญเชิญพระบรมศพขึ้นประดิษฐานบนรถซึ่งตกแต่งอย่างงดงาม มีธงมหาราชคลุมพระบรมศพ แลเชิญพระชัยวัฒน์ไว้ทางเบื้องพระเศียร

รถเคลื่อนขบวนออกจากพระตำหนักคอมพ์ตันไปยังสุสานโกดเดอร์สกรีน (Golders Green) ซึ่งอยู่ทางเหนือของกรุงลอนดอน มีรถตามเสด็จประมาณ 5 คัน คันแรกเป็นรถพระที่นั่งของสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี รถคันที่สองเป็นรถที่ประทับของพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์และพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพีระพงษ์ภานุเดช พระราชนัดดา คันต่อไปเป็นของพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจิระศักดิ์สุประภาต พระโอรสบุญธรรม กับพระชายา คันต่อไปเป็นรถของหม่อมเจ้าศุภสวัสดิ์วงศ์สนิท สวัสดิวัตน์ แลบุคคลอื่น ๆ เมื่อเสด็จไปถึงสุสานโกลเดอร์สกรีน ได้มีผู้มาคอยเฝ้ารับเสด็จอยู่มากทั้งคนไทยและชาวต่างประเทศ

เมื่อเจ้าหน้าที่อัญเชิญพระบรมศพเข้าสู่ฐานที่ตั้ง และผู้ที่ตามเสด็จเข้าประทับและนั่งเก้าอี้แถวโดยลำดับแล้ว อาร์. ดี. เครก (R. D. Craig) ชาวอังกฤษ ซึ่งเคยรับราชการอยู่เมืองไทยและเป็นพระสหายของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้อ่านสุนทรพจน์สรรเสริญพระเกียรติคุณ ผู้ที่ไปชุมนุม ณ ที่นั้นถวายความเคารพทีละคน มีคนไทยซึ่งเคยบวชในพระพุทธศาสนาได้สวดมนต์ถวายพระราชกุศลและมีการบรรเลงเพลงเมนเดลโซน ไวโอลิน คอนแชร์โต (Mendelssohn Violin Concerto) ซึ่งเป็นเพลงที่พระองค์โปรดเป็นพิเศษ ถวายเป็นครั้งสุดท้ายเท่านั้น[36] หลังจากถวายพระเพลิงพระบรมศพเสร็จสิ้นแล้ว พระบรมอัฐิและพระบรมสรีรางคารถูกอัญเชิญกลับไปประดิษฐานยังพระตำหนักคอมพ์ตันอันเป็นที่ประทับของพระองค์

การอัญเชิญพระบรมอัฐิกลับสู่ประเทศไทย

[ດັດແກ້]

ในปี พ.ศ. 2492 รัฐบาลได้กราบบังคมทูลสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี ขอพระราชทานให้ทรงอัญเชิญพระบรมอัฐิพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวกลับสู่ประเทศไทย เพื่ออัญเชิญขึ้นประดิษฐานไว้ร่วมกับสมเด็จพระบูรพมหากษัตริยาธิราชเจ้าในพระบรมมหาราชวัง ในการนี้สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งการพระราชพิธีทักษิณานุปทานอุทิศถวายตามพระราชประเพณี หลังจากนั้นทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญพระโกศพระบรมอัฐิขึ้นประดิษฐาน ณ หอพระบรมอัฐิ ซึ่งอยู่ชั้นบนของพระที่นั่งจักรีมหาปราสาท[37] ส่วนพระบรมสรีรางคารนั้นทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้บรรจุไว้ที่พระพุทธบัลลังก์พระพุทธอังคีรสภายในพระอุโบสถ วัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร[38]

พระราชกรณียกิจ

[ດັດແກ້]

ด้านการทำนุบำรุงบ้านเมือง

[ດັດແກ້]

เศรษฐกิจ สืบเนื่องจากผลของสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ประเทศทั่วโลกประสบปัญหาภาวะเศรษฐกิจ ตกต่ำ ซึ่งมีผลกระทบกระเทือนมาสู่ประเทศไทย พระองค์ได้ทรงพยายามแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจด้วยวิธีต่าง ๆ เช่น การควบคุมงบประมาณ ตัดทอนรายจ่าย ลดอัตราเงินเดือนข้าราชการ รวมถึงการลดจำนวนข้าราชการ ปรับปรุงระบบภาษี การเก็บภาษีเพิ่มเติม ยุบรวมจังหวัด เลิกมาตรฐานทองคำเปลี่ยนไปผูกกับค่าเงินของอังกฤษ เป็นต้น รวมทั้งส่งเสริมกิจการสหกรณ์ให้ประชาชนได้มีโอกาสร่วมกันประกอบกิจการทางเศรษฐกิจ โดยทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ. 2471 ขึ้น

การสุขาภิบาลและสาธารณูปโภค โปรดให้ปรับปรุงงานสุขาภิบาลทั่วราชอาณาจักรให้ทัดเทียมอารยประเทศ ด้านการสื่อสารและการคมนาคมนั้น ได้มีการอัญเชิญกระแสพระราชดำรัสของพระองค์จากพระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย พระบรมมหาราชวัง ถ่ายทอดเสียงทางวิทยุเป็นครั้งแรกของประเทศไทยในพิธีเปิดสถานีวิทยุกรุงเทพฯ ที่พระราชวังพญาไท[39] ในส่วนกิจการรถไฟ ขยายเส้นทางรถทางทิศตะวันออกจากทางจังหวัดปราจีนบุรี จนกระทั่งถึงต่อเขตแดนประเทศกัมพูชา

ในปี พ.ศ. 2475 เป็นวาระที่กรุงเทพมหานครมีอายุครบ 150 ปี ทรงจัดงานเฉลิมฉลองโดยทำนุบำรุงบูรณปฏิสังขรณ์สิ่งสำคัญอันเป็นหลักของกรุงเทพมหานครหลายประการ คือ บูรณะวัดพระศรีรัตนศาสดาราม พระบรมมหาราชวัง, สร้างปฐมบรมราชานุสรณ์และสะพานพระพุทธยอดฟ้าเชื่อมฝั่งกรุงเทพมหานครและฝั่งธนบุรีเพื่อเป็นการขยายเขตเมืองให้กว้างขวาง[40][41] เป็นต้น สำหรับในเขตหัวเมือง ทรงได้จัดตั้งสภาจัดบำรุงสถานที่ชายทะเลทิศตะวันตกขึ้น เพื่อทำนุบำรุงหัวหินและใกล้เคียงให้เป็นสถานที่ตากอากาศชายทะเล

ด้านการปกครอง

[ດັດແກ້]
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงลงพระปรมาภิไธยในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475

พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระราชปรารภจะพระราชทานรัฐธรรมนูญ แต่ถูกทักท้วงจากพระบรมวงศ์ชั้นผู้ใหญ่จึงได้ระงับไปก่อน[42] ซึ่งหม่อมเจ้าพูนพิศมัย ดิศกุล มีดำรัสถึงเรื่องนี้ว่า "ส่วนพระเจ้าอยู่หัวเองนั้น [พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว] ทรงรู้สึกยิ่งขึ้นทุกทีว่าการปกครองบ้านเมืองในสมัยเช่นนี้ เป็นการเหลือกำลังของพระองค์ที่จะทรงรับผิดชอบได้โดยลำพังแต่ผู้เดียว พระองค์ทรงรู้ดีว่า ทรงอ่อนทั้งในทาง physical และ mental จึงมีพระราชปรารถนาจะพระราชทานรัฐธรรมนูญให้ช่วยกันรับผิดชอบให้เต็มที่อยู่เสมอ"[43]

แต่ก็เกิดเหตุการณ์ปฏิวัติโดยคณะราษฎร ในวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 โดยพระองค์ทรงยินยอมสละพระราชอำนาจ[28][29]และเป็นพระมหากษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ ทรงให้ตรวจตราตัวบทกฎหมายรัฐธรรมนูญที่จะเป็นหลักในการปกครองอย่างถี่ถ้วน

ทรงแก้ไขกฎหมายองคมนตรี ด้วยการออกพระราชบัญญัติองคมนตรี เมื่อปี พ.ศ. 2470 โดยให้สภากรรมการองคมนตรีมีอำนาจหน้าที่ในการให้คำปรึกษาในการร่างกฎหมาย โดยมีพระราชดำริให้สภาองคมนตรีเป็นที่ฝึกการประชุมแบบรัฐสภา กรรมการสภาองคมนตรีอยู่ในตำแหน่งวาระละ 3 ปี[44] ทรงตราพระราชบัญญัติควบคุมการค้าขายอันกระทบถึงความปลอดภัยหรือความผาสุกแห่งสาธารณชน พ.ศ. 2471 เพื่อคุ้มครองสวัสดิการของปวงชนชาวไทย โดยมีขอบเขตครอบคลุมการค้าขายที่เป็นสาธารณูปโภคและการเงิน เช่น การประปา การไฟฟ้า การรถไฟ การเดินอากาศ การชลประทาน การออมสิน และการประกันภัย อันเป็นรากฐานของระเบียบปฏิบัติ ที่ใช้กันมาจนทุกวันนี้

มีพระราชดำริให้จัดระเบียบการปกครองรูปแบบเทศบาลขึ้น เพื่อให้ประชาชนในท้องถิ่นรู้จักเลือกตัวแทนเข้าไปบริหารและจัดการงานต่าง ๆ ของชุมชน โดยโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติเทศบาล ขึ้นแต่มิได้เป็นไปตามพระราชประสงค์เนื่องจากเกิดการปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475

ทว่า ยังมีมุมมองที่ว่าพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวหาได้เป็น "กษัตริย์ประชาธิปไตย" ดังที่ทรงได้รับยกย่องไม่ ทวีศักดิ์ ตั้งปฐมวงศ์ เขียนว่า พระองค์ทรงรับรู้ทั้งสนับสนุน "คณะกู้บ้านกู้เมือง" ซึ่งหวังปราบปรามคณะราษฎร และมีพระราชดำรัส "ประเทศนี้พร้อมแล้วหรือยังที่จะมีการปกครองแบบมีผู้แทน… ตามความเห็นส่วนตัวของข้าพเจ้าแล้ว ข้าพเจ้าขอย้ำว่าไม่" ทั้งทรงขัดขวางเค้าโครงการเศรษฐกิจปี 2475 ของปรีดี พนมยงค์ ซึ่งหวังสร้างรัฐสวัสดิการ เป็นต้น[45] อีกทั้งจิตตะเสน ปัญจะ หนึ่งในคณะผู้ก่อการปฏิวัติ พ.ศ. 2475 บันทึกว่า พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวจะหลอกสมาชิกคณะราษฎรไปประหารชีวิตโดยมีประกาศพระบรมราชโองการ[46]

ด้านการศาสนา การศึกษา ประเพณีและวัฒนธรรม

[ດັດແກ້]

[[ไฟล์:Culture P01.jpg|thumb|left|200px|พระบรมฉายาลักษณ์ขณะทรงซออู้]] ทรงส่งเสริมการศึกษาของชาติทั้งส่วนรวมและส่วนพระองค์ โปรดให้สร้างหอพระสมุดสำหรับพระนคร เพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้าศึกษาได้อย่างเสรี ทรงตั้งราชบัณฑิตยสภา เพื่อมีหน้าที่บริหารและเผยแพร่วิชาการด้านวรรณคดี โบราณคดี และศิลปกรรม ในด้านวรรณกรรม โปรด ตราพระราชบัญญัติคุ้มครองวรรณกรรมและศิลปกรรมใน พ.ศ. 2475 พระราชทานเงินส่วนพระองค์ เป็นรางวัลแก่ผู้แต่งหนังสือยอดเยี่ยม และให้ทุนนักเรียนไปศึกษาวิชาวิทยาศาสตร์จากต่างประเทศ การศาสนา ทรงปลูกฝังเยาวชนให้มีคุณธรรมดีงาม โดยยึดหลักคำสอนของศาสนาพุทธ โปรดให้ราชบัณฑิตยสร้างหนังสือสอนพระพุทธศาสนาสำหรับเด็ก ซึ่งนับว่าพระองค์เป็นพระมหากษัตริย์พระองค์แรกที่ทรงสร้างหนังสือสำหรับเด็ก ส่วนการศึกษาในพระพุทธศาสนานั้น โปรดให้สร้างหนังสือพระไตรปิฎกภาษาบาลี เรียกว่า ฉบับสยามรัฐ โดยหนึ่งชุดมีจำนวน 45 เล่ม เพื่อเป็นอนุสาวรีย์เชิดชูพระเกียรติยศของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว[47][48]

ในด้านศิลปวัฒนธรรมของชาตินั้น พระองค์ทรงสถาปนาราชบัณฑิตย์สภาขึ้น (เดิมคือ กรรมการหอพระสมุดสำหรับพระนคร) เพื่อจัดการหอพระสมุดสำหรับพระนครและสอบสวนพิจารณาวิชาอักษรศาสตร์ เพื่อจัดการพิพิธภัณฑสถานตรวจรักษาโบราณสถานและโบราณวัตถุ และเพื่อจัดการบำรุงรักษาวิชาช่าง[49] ผลงานของราชบัณฑิตสภาเป็นผลดีต่อการอนุรักษ์และส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมของชาติเป็นอย่างมาก เช่น การตรวจสอบต้นฉบับเอกสารโบราณออกตีพิมพ์เผยแพร่ มีการส่งเสริมสร้างสรรค์วรรณกรรมรุ่นใหม่ด้วยการประกวดเรียบเรียงบทประพันธ์ทั้งร้อยแก้วและร้อยกรอง

ทรงอนุรักษ์ดนตรีไทยไว้ด้วยพระองค์เอง ทั้งนี้เพราะได้ทรงสนพระราชหฤทัยในวิชาดนตรีไทย ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้หลวงประดิษฐไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง) เข้าถวายการฝึกสอนจนสามารถ พระราชนิพนธ์ทำนองเพลงไทยได้ ถึง 3 เพลง คือ เพลงราตรีประดับดาวเถา เพลงเขมรลออองค์เถา และเพลงโหมโรงคลื่นกระทบฝั่ง[50]

ทางด้านวัฒนธรรมและสถาปัตยกรรม ทรงสละทรัพย์ส่วนพระองค์ปฏิสังขรณ์วัดสุวรรณดารารามราชวรวิหาร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โปรดฯให้เขียนภาพพงศาวดาร สมเด็จพระนเรศวรมหาราชไว้ที่ผนังพระวิหาร

ทรงพยายามสร้างค่านิยมให้มีสามีภรรยาเพียงคนเดียว โปรดให้ตราพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายลักษณะผัวเมีย พ.ศ. 2473 ริเริ่มให้มีการจดทะเบียนสมรส ทะเบียนหย่า ทะเบียนรับรองบุตร อันเป็นการปลูกฝังค่านิยมแบบใหม่ทีละน้อยตามความสมัครใจ นอกจากนี้ยังทรงปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างโดยทรงมีแต่พระบรมราชินีเพียงพระองค์เดียว

[[ไฟล์:Bundesarchiv_Bild_183-2005-0524-508,_Berlin,_Ankunft_des_siamesischen_Königspaares.jpg|thumb|250px|พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี เสด็จเยือนประเทศเยอรมนี ในปี ค.ศ. 1934]] นอกจากนี้แล้ว เมื่อทรงว่างจากพระราชภารกิจ พระองค์โปรดในการถ่ายภาพนิ่งและถ่ายภาพยนตร์ ทรงมีกล้องถ่ายภาพและภาพยนตร์จำนวนมากที่ทรงสะสมไว้ สะท้อนให้เห็นพระอุปนิสัยโปรดการถ่ายภาพและภาพยนตร์ ภาพยนตร์ทรงถ่ายมีเนื้อหาทั้งที่เป็นสารคดีและที่ให้ความบันเทิง ในจำนวนภาพยนตร์เหล่านี้ เรื่องที่เป็นเกียรติประวัติของวงการภาพยนตร์ไทยและแสดงพระราชอัจฉริยภาพดีเยี่ยมในการสร้างโครงเรื่อง กำกับภาพ ลำดับฉาก และอำนวยการแสดง คือ เรื่องแหวนวิเศษ นับได้ว่าพระองค์เป็นหนึ่งในบุคคลที่บุกเบิกวงการภาพยนตร์ไทยอีกพระองค์หนึ่ง นอกจากนี้ทรงสละพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์สร้างโรงภาพยนตร์ศาลาเฉลิมกรุง ซึ่งนับเป็นโรงภาพยนตร์ทันสมัยในสมัยนั้น นับเป็นโรงมหรสพแห่งแรกในเอเชียที่มีเครื่องปรับอากาศระบบไอน้ำ[51]

ความสัมพันธ์กับต่างประเทศ

[ດັດແກ້]

ในต้นรัชสมัยได้ทรงดำเนินกิจการสำคัญที่ทรงเกี่ยวข้องกับต่างประเทศที่ค้างมาตั้งแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวให้สำเร็จลุล่วงไป เช่น การให้สัตยาบันสนธิสัญญาต่าง ๆ นอกจากนี้ยังทรงทำสัญญาใหม่ ๆ กับประเทศเยอรมนีหลังสถาปนาความสัมพันธ์ขั้นปกติ เมื่อ พ.ศ. 2471 และทำสนธิสัญญากับประเทศฝรั่งเศสเกี่ยวกับดินแดนในลุ่มแม่น้ำโขง เรียกว่าสนธิสัญญาอินโดจีน พ.ศ. 2469 โดยกำหนดให้ มีเขตปลอดทหาร 25 กิโลเมตร ทั้งสองฝั่งของแม่น้ำโขงแทนที่จะมีเฉพาะฝั่งสยามแต่เพียงฝ่ายเดียว [52][53]

พระบรมราชานุสรณ์

[ດັດແກ້]

พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจนานัปการจึงมีการสร้างพระบรมราชานุสรณ์หลายแห่งเพื่อเป็นการรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ เช่น

วันพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว

คณะรัฐมนตรีได้กำหนดให้วันที่ 30 พฤษภาคมของทุกปี ซึ่งเป็นวันสวรรคตของพระองค์เป็น "วันพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว" เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติให้เป็นที่ประจักษ์และเป็นการน้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ที่มีต่อปวงชนชาวไทยนานัปการ [54]

วังศุโขทัย

วังศุโขทัย ตั้งอยู่มุมถนนขาวและถนนสามเสน โดยสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเพื่อพระราชทานเป็นของขวัญในการอภิเษกสมรสของ สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าฯ กรมขุนศุโขไทยธรรมราชา (พระยศขณะนั้น) กับหม่อมเจ้าหญิงรำไพพรรณี สวัสดิวัตน์ (พระยศขณะนั้น) เมื่อปี พ.ศ. 2461 โดยได้รับพระราชทานนามวังจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวว่า "วังศุโขไทย"[55]

ถนนประชาธิปก

ถนนประชาธิปก เป็นถนนที่เริ่มตั้งแต่สะพานพระพุทธยอดฟ้าถึงวงเวียนใหญ่ เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร โดยสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าดิศวรกุมาร กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงตั้งชื่อถนนถวายพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวว่า "ถนนพระปกเกล้า" หรือ "ถนนประชาธิปก" เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวที่ทรงสร้างสะพานพระพุทธยอดฟ้าและถนนเพื่อเชื่อมฝั่งพระนครกับฝั่งธนบุรี โดยพระองค์พระราชทานนามถนนนี้ว่า "ถนนประชาธิปก"[56]

สถาบันพระปกเกล้า

สถาบันพระปกเกล้า เป็นสถาบันพัฒนาประชาธิปไตยที่จัดตั้งขึ้นในวโรกาสครบรอบ 100 ปี วันพระราชสมภพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปก พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ผู้พระราชทานรัฐธรรมนูญแก่ประชาชนชาวไทย โดยได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตจากพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชให้เชิญพระนามของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวมาเป็นชื่อของสถาบัน[57]

มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช เป็นมหาวิทยาลัยเปิดโดยใช้ระบบการศึกษาทางไกล ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อมหาวิทยาลัยตามพระนามเดิมของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเมื่อครั้งทรงดำรงพระอิสริยยศที่ "กรมหลวงสุโขทัยธรรมราชา" นอกจากนี้ ยังพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ใช้พระราชลัญจกรในรัชกาลที่ 7 นำมาประกอบกับเจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของอาณาจักรสุโขทัยเป็นตราประจำมหาวิทยาลัยด้วย[58]

โรงพยาบาลพระปกเกล้า

โรงพยาบาลพระปกเกล้า เดิมชื่อ โรงพยาบาลจันทบุรี คณะรัฐมนตรีมีมติให้เปลี่ยนชื่อเป็นโรงพยาบาลพระปกเกล้าเพื่อน้อมเกล้าถวายเป็นพระบรมราชานุสรณ์แด่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเมื่อวันที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2496 นอกจากนี้ ยังมีการสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวและตึกต่างๆ เช่น อาคารประชาธิปก อาคารประชาธิปกศักดิเดชน์ ภายในโรงพยาบาล รวมทั้ง มีการจัดตั้งโรงเรียนพยาบาลผดุงครรภ์และอนามัยขึ้นที่โรงพยาบาลพระปกเกล้า ปัจจุบัน คือ วิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี และสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี ยังได้พระราชทานพระราชทรัพย์จัดตั้ง "ทุนประชาธิปก" (ต่อมาเปลี่ยนเป็น มูลนิธิประชาธิปก-รำไพพรรณี) เพื่อสนับสนุนกิจการของโรงพยาบาลพระปกเกล้า, วิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี และมหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี [59]

พระบรมราชานุสาวรีย์

[ດັດແກ້]
พระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ตั้งอยู่ ณ อุทยานการศึกษารัชมังคลาภิเษก มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
พระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัฐสภา)

พระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ตั้งอยู่หน้าตึกรัฐสภา พระราชวังดุสิต กรุงเทพมหานคร มีขนาดหนึ่งเท่าครึ่งพระองค์จริง ทรงเครื่องพระบรมราชภูษิตาภารณ์ฉลองพระองค์ครุยสวมพระชฎามหากฐินปักขนนกการเวก เสด็จประทับเหนือพระที่นั่งพุดตาญจนสิงหาสน์ พระหัตถ์วางเหนือพระเพลาทั้งสองข้าง ออกแบบโดยนาวาเอกสมภพ ภิรมย์ โดยจะมีพิธีถวายบังคมพระบรมราชานุสรณ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวในวันที่ 10 ธันวาคมเป็นประจำทุกปี [60]

พระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (โรงพยาบาลพระปกเกล้า)

พระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ตั้งอยู่หน้าอาคารประชาธิปกศักดิเดชน์ โรงพยาบาลพระปกเกล้า จังหวัดจันทบุรี มีขนาด 2 เท่าของพระองค์จริง สูง 3.14 เมตร ฐานสูง 20 เซนติเมตร แท่นฐานสูง 2.60 เมตร โดยมีพันโทนภดล สุวรรณสมบัติ เป็นประติมากร สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินเป็นองค์ประธานในการเปิดพระบรมราชานุสาวรีย์เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2551 [59]

พระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช)

พระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ตั้งอยู่ ณ อุทยานการศึกษารัชมังคลาภิเษก มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมารเสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ทรงเปิดเมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2536 ในโอกาสครบ 100 ปี วันคล้ายวันพระบรมราชสมภพ

พิพิธภัณฑ์

[ດັດແກ້]

thumb|200px|พิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว บริเวณสี่แยกผ่านฟ้า เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร

พิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว

พิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นพิพิธภัณฑ์ในความดูแลของสถาบันพระปกเกล้า ตั้งที่อาคารกรมโยธาธิการเดิม บริเวณสี่แยกผ่านฟ้า เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร ซึ่งสถาบันพระปกเกล้าได้บูรณะเพื่อจัดทำเป็นพิพิธภัณฑ์เพื่อรวบรวมข้าวของเครื่องใช้ส่วนพระองค์ของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี จัดแสดงภาพถ่าย เอกสาร และพระราชประวัติของพระองค์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมารเสด็จฯ แทนพระองค์ทรงเปิดพิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2545 [61]

พิพิธภัณฑ์อาคารที่ประทับประชาธิปกศักดิเดชน์

พิพิธภัณฑ์อาคารที่ประทับประชาธิปกศักดิเดชน์ ตั้งอยู่ในกองพลทหารปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยาน เป็นอาคารที่พำนักของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ในสมัยที่พระองค์ทรงรับราชการเป็นนายทหารเหล่าทหารปืนใหญ่ (พ.ศ. 2458 - พ.ศ. 2464) สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2463 เป็นบ้านไม้ชั้นเดียว ใต้ถุนสูง หลังคามุงด้วยกระเบื้องลูกว่าว แบ่งออกเป็น 2 ส่วน ด้านหน้าจะมี 3 ห้อง คือ ห้องทรงงาน ห้องบรรทม และห้องพระกระยาหาร ส่วนด้านหลังเป็นห้องเตรียมพระกระยาหารและยังมีชานโล่งสำหรับพักผ่อนภายนอก อาคารนี้ได้รับการบูรณะเมื่อ พ.ศ. 2541 เพื่อจัดทำเป็นพิพิธภัณฑ์เผยแพร่พระเกียรติคุณและน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ [62]

พิพิธภัณฑ์สถาน พระปกเกล้ารำไพพรรณี เฉลิมพระเกียรติ

พิพิธภัณฑ์สถาน พระปกเกล้ารำไพพรรณี เฉลิมพระเกียรติ ตั้งอยู่ที่วิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี สร้างขึ้นเพื่อเป็นการน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี ที่มีพระมหากรุณาธิคุณแก่ปวงชนชาวไทยโดยเฉพาะอย่างยิ่งแก่ชาวจังหวัดจันทบุรีและวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทำพิธีเปิดแพรคลุมป้ายพิพิธภัณฑ์ในวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2551 [63]

พระอิสริยยศและพระเกียรติยศ

[ດັດແກ້]

ແມ່ແບບ:กล่องข้อมูล พระยศ

พระอิสริยยศ

[ດັດແກ້]
  • สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าประชาธิปกศักดิเดชน์ (8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2436 - 4 มีนาคม พ.ศ. 2448)
  • สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าประชาธิปกศักดิเดชน์ กรมขุนศุโขไทยธรรมราชา (4 มีนาคม พ.ศ. 2448 - 23 ตุลาคม พ.ศ. 2453)
  • สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าประชาธิปกศักดิเดชน์ กรมขุนศุโขไทยธรรมราชา (23 ตุลาคม พ.ศ. 2453 - 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468)
  • สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าประชาธิปกศักดิเดชน์ กรมหลวงสุโขทัยธรรมราชา (15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468 - 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468)
  • สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เจ้าฟ้าประชาธิปกศักดิเดชน์ กรมหลวงสุโขทัยธรรมราชา[64] (26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468 - 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2469)
  • พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปก พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2469 - 2 มีนาคม พ.ศ. 2477)
  • สมเด็จพระบรมราชปิตุลา เจ้าฟ้าประชาธิปกศักดิเดชน์ กรมหลวงสุโขทัยธรรมราชา (2 มีนาคม พ.ศ. 2477 - 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2492)[35]
  • พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปก พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (24 พฤษภาคม พ.ศ. 2492 เป็นต้นไป)[65]

พระราชลัญจกร

[ດັດແກ້]
พระราชลัญจกรประจำพระองค์

พระราชลัญจกรประจำพระองค์ เรียกว่า พระแสงศร เป็นรูปพระแสงศร 3 องค์ วางอยู่บนราวพาดที่เบื้องบนเป็นตรามหาจักรีบรมราชวงศ์ภายใต้พระมหาพิชัยมงกุฎ เบื้องซ้ายและเบื้องขวาของราวพาดพระแสงศร ตั้งบังแทรกสอดแทรกด้วยลายกระหนกอยู่บนพื้นตอนบนของดวงตรา

พระราชลัญจกรองค์นี้สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจิตรเจริญ กรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ทรงออกแบบ โดยทรงนำพระบรมนามาภิไธยเดิมของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้แก่ ประชาธิปกศักดิเดชน์ ซึ่งคำว่า เดชน์ แปลว่า ลูกศร มาใช้ในการออกแบบ ดังนั้น พระราชลัญจกรประจำพระองค์จึงเป็นรูปพระแสงศร อันประกอบด้วย พระแสงศรพรหมาสตร์ พระแสงศรประลัยวาต และพระแสงศรอัคนีวาต ซึ่งเป็นพระแสงศรที่ใช้ในพระราชพิธีศรีสัจจปานกาล (พระราชพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา)[66][67]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

[ດັດແກ້]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ

[ດັດແກ້]

บุคคลสำคัญของโลก

[ດັດແກ້]

ที่ประชุมใหญ่ขององค์การศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) ณ กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ได้ประกาศยกย่องพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นบุคคลสำคัญของโลกในฐานะที่ทรงมีผลงานดีเด่นด้านการศึกษา วิทยาศาสตร์ วัฒนธรรม สังคมศาสตร์ และสื่อสารมวลชน เพื่อเฉลิมพระเกียรติเนื่องในโอกาสครบรอบ 100 ปี ในการประกอบพระราชกรณียกิจในไทยหลังจากเสด็จพระราชดำเนินกลับจากการศึกษา ณ ประเทศอังกฤษ และเพื่อเฉลิมพระเกียรติเนื่องในโอกาสวันพระราชสมภพครบรอบ 10 ปีนักษัตร (120 ปี แห่งพระบรมราชสมภพ)[68][69]

ພະນາມ

[ດັດແກ້]
  • ສົມເດັດພະເຈົ້າລູກຍາເທີ ເຈົ້າຟ້າປະຊາທິປົກສັກດິເດດ ຊະເນສອນມະຫາລາຊາທິລາດ ຈຸລາລົງກອນນາດວະໂຣຣົດ ອຸດົມຍົດອຸກິດຖະສັກ ອຸໄພຍະປັກສະນາວິນ ອະສັມພິນຊາດພິສຸດ ມະຫາມຸງກຸດລາຊະພົງສະບໍຣິພັດ ບໍຣົມຂັດຕິຍະມະຫາຣະຊະດາພິສິນຈະນະພັນໂສໄທ ມົງຄົນສະໝັຍສະມາກອນ ສະຖາວໍລະວະຣັດຊະຣິຍະຄຸນ ອະດຸນຍະລາຊະກຸມານ
    สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าประชาธิปกศักดิเดชน์ ชเนศรมหาราชาธิราช จุฬาลงกรณนารถวโรรส อุดมยศอุกฤษฐศักดิ์ อุภัยปักษนาวิล อสัมภินชาติพิสุทธ์ มหามงกุฎราชพงษบริพรรต บรมขัตติยมหารชดาภิสิญจนพรรโษทัย มงคลสมัยสมากร สถาวรวรัจฉริยคุณ อดุลยราชกุมาร (8 ພະຈິກ ຄ.ສ. 1893 — 4 ມີນາ ຄ.ສ. 1905)
  • ສົມເດັດພະເຈົ້າລູກຍາເທີ ເຈົ້າຟ້າປະຊາທິປົກສັກດິເດດ ຊະເນສອນມະຫາລາຊາທິລາດ ຈຸລາລົງກອນນາດວະໂຣຣົດ ອຸດົມຍົດອຸກິດຖະສັກ ອຸໄພຍະປັກສະນາວິນ ອະສັມພິນຊາດພິສຸດ ມະຫາມຸງກຸດລາຊະພົງສະບໍຣິພັດ ບໍຣົມຂັດຕິຍະມະຫາຣະຊະດາພິສິນຈະນະພັນໂສໄທ ມົງຄົນສະໝັຍສະມາກອນ ສະຖາວໍລະວະຣັດຊະຣິຍະຄຸນ ອະດຸນຍະລາຊະກຸມານ ກົມຂຸນສຸໂຂໄທທຳມະລາຊາ
    สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าประชาธิปกศักดิเดชน์ ชเนศรมหาราชาธิราช จุฬาลงกรณ์นารถวโรรส อุดมยศอุกฤษฐศักดิ์ อุภัยปักษนาวิล อสัมภินชาติพิสุทธ์ มหามงกุฎราชพงษ์บริพัตร บรมขัตติยมหารัชฎาภิสิญจน์พรรโษทัย มงคลสมัยสมากร สถาวรวรัจฉริยคุณ อดุลยราชกุมาร กรมขุนศุโขไทยธรรมราชา (4 ມີນາ ຄ.ສ. 1905 — 23 ຕຸລາ ຄ.ສ. 1910)
  • ສົມເດັດພະເຈົ້ານ້ອງຍາເທີ ເຈົ້າຟ້າປະຊາທິປົກສັກດິເດດ ຊະເນສອນມະຫາລາຊາທິລາດ ຈຸລາລົງກອນນາດວະໂຣຣົດ ອຸດົມຍົດອຸກິດຖະສັກ ອຸໄພຍະປັກສະນາວິນ ອະສັມພິນຊາດພິສຸດ ມະຫາມຸງກຸດລາຊະພົງສະບໍຣິພັດ ບໍຣົມຂັດຕິຍະມະຫາຣະຊະດາພິສິນຈະນະພັນໂສໄທ ມົງຄົນສະໝັຍສະມາກອນ ສະຖາວໍລະວະຣັດຊະຣິຍະຄຸນ ອະດຸນຍະລາຊະກຸມານ ກົມຂຸນສຸໂຂໄທທຳມະລາຊາ
    สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าประชาธิปกศักดิเดชน์ ชเนศรมหาราชาธิราช จุฬาลงกรณ์นารถวโรรส อุดมยศอุกฤษฐศักดิ์ อุภัยปักษนาวิล อสัมภินชาติพิสุทธ์ มหามงกุฎราชพงษ์บริพัตร บรมขัตติยมหารัชฎาภิสิญจน์พรรโษทัย มงคลสมัยสมากร สถาวรวรัจฉริยคุณ อดุลยราชกุมาร กรมขุนศุโขไทยธรรมราชา (23 ຕຸລາ ຄ.ສ. 1910 — 15 ພະຈິກ ຄ.ສ. 1925)
  • ສົມເດັດພະເຈົ້ານ້ອງຍາເທີ ເຈົ້າຟ້າປະຊາທິປົກສັກດິເດດ ຊະເນສອນມະຫາລາຊາທິລາດ ຈຸລາລົງກອນນາດວະໂຣຣົດ ອຸດົມຍົດອຸກິດຖະສັກ ອຸໄພຍະປັກສະນາວິນ ອະສັມພິນຊາດພິສຸດ ມະຫາມຸງກຸດລາຊະພົງສະບໍຣິພັດ ບໍຣົມຂັດຕິຍະມະຫາຣະຊະດາພິສິນຈະນະພັນໂສໄທ ມົງຄົນສະໝັຍສະມາກອນ ສະຖາວໍລະວະຣັດຊະຣິຍະຄຸນ ອະດຸນຍະລາຊະກຸມານ ກົມຫຼວງສຸໂຂໄທທຳມະລາຊາ
    สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าประชาธิปกศักดิเดชน์ ชเนศรมหาราชาธิราช จุฬาลงกรณ์นารถวโรรส อุดมยศอุกฤษฐศักดิ์ อุภัยปักษนาวิล อสัมภินชาติพิสุทธ์ มหามงกุฎราชพงษ์บริพัตร บรมขัตติยมหารัชฎาภิสิญจน์พรรโษทัย มงคลสมัยสมากร สถาวรวรัจฉริยคุณ อดุลยราชกุมาร กรมหลวงสุโขทัยธรรมราชา (15 ພະຈິກ ຄ.ສ. 1925 — 26 ພະຈິກ ຄ.​ສ. 1925)
  • ສົມເດັດພະເຈົ້າຢູ່ຫົວ ເຈົ້າຟ້າປະຊາທິປົກສັກດິເດດ ກົມຫຼວງສຸໂຂໄທທຳມະລາຊາ
    สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เจ้าฟ้าประชาธิปกศักดิเดชน์ กรมหลวงสุโขทัยธรรมราชา (26 ພະຈິກ ຄ.ສ. 1925 — 25 ກຸມພາ ຄ.​ສ. 1926)
  • ພະບາດສົມເດັດພະປໍຣະມິນທະຣະມະຫາປະຊາທິປົກ ມະຫັນຕະເດດຊະນະດິລົກຣາມາທິບໍດີ ເທບພະຍະປີຍະມະຫາລາຊະຣະວິວົງ ອະສັມພິນພົງສະພີຣະກະສັດ ບຸຣຸດຣັດຕະນະລາຊະນິກະໂຣດົມ ຈາຕຸຣັນຕະບໍຣົມມະຫາຈັກກະພັດດິລາຊະສັງກາດ ອຸພະໂຕສຸຊາດສຳສຸດທະເຄາະຫະນີຈັກກີບໍຣົມນາດ ຈຸລາລົງກອມລາດວະຣາງກູນ ມະຫາມະກຸດວົງສະວີຣະສູນຊິດ ລາຊະທຳທົດສະພິດອຸກິດນິບຸນ ອະດຸນຍະກິດສະດາພິນິຫານ ບູຮະພາທິການສຸສາທິຕທັນຍະລັກວິຈິດເສາວະພາຄະຍະສັນພາງ ມະຫາຊະໂນດມາງຄະມານົດ ສົນທິມຸດສະມັນຕະສະມາຄົມ ບໍຣົມລາຊະສົມພານ ທິບພະຍະເທພາວະຕານ ໄພສານກຽດຕິຄຸນ ອະດຸນຍະສັກດິເດດ ສັບພະເທເວດປິຍານຸຣັກ ມົງຄົນລັກຄະນະເນມາໄຫວ ສຸໂຂໄທທຳມະລາຊາ ອະພິເນາວະສິນລະປະສຶກສາເດດນາວຸດ ວິໄຂຍຸດທະສາດໂກສົນ ວິມົນໄນຍະພິນິດ ສຸຈະຫຣິດສະມາຈານ ພັດທະຣະຍານປະດິພານສຸນທອນ ປະວໍລະສາສະໂນປະສະດົມພົກ ມູນມຸກຂະມາດວໍລະນາຍົກມະຫາເສນານີ ສະລາຊະນາວີພະຍູຫະໂຍທະພະໂຍມຈອນ ບໍຣົມເຊດຖະໂສທອນສົມມຸດ ເອກກະລາຊະຍະຍົດສະທິຄົມບໍຣົມລາຊະສົມບັດ ນົບພະປະດົນສະເຫວດຕະຊັດຕາດິຊັດ ສີຣັດຕະໂນປະລັກ ມະຫາບໍຣົມລາຊາພິເສກາພິສິກ ສັບພະທົດສະທິດວິຊິດເດໂຊໄຊ ສະກົນມະໄຫສະວໍລະຍະມະຫາສະຫວາມິນ ມະເຫສວນມະຫິນທະຣະມະຫາຣາມາທິລາດວະໂຣດົມ ບໍຣົມນາດຊາດອາຊັນຍາໄສ ພຸດທາທິໄຕຮັດຕະນະສໍຣະນາຣັກ ວິສິດສັກຕະອັກຄະຣະນະເຣດວະຣາທິບໍດີ ເມດຕາກະຣຸນາສີຕະລະຫະລຶໄທ ອະໂນປະໄມບຸນຍະການ ສະກົນໄພສານມະຫາຣັດສະດາທິບໍດິນ ປໍຣະມິນທະຣະທັນມິກະມະຫາລາຊາທິລາດ ບໍຣົມນາດບໍພິດ ພະປົກເກົ້າເຈົ້າຢູ່ຫົວ
    พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปก มหันตเดชนดิลกรามาธิบดี เทพยปรียมหาราชรวิวงศ อสัมภินพงศพีระกษัตร บุรุษรัตนราชนิกโรดม จาตุรันตบรมมหาจักรพรรดิราชสังกาศ อุภโตสุชาตสำสุทธเคราหณีจักรีบรมนาถ จุฬาลงกรณราชวรางกูร มหามกุฏวงศวีรสูรชิษฐ ราชธรรมทศพิธอุต์กฤษฎนิบุญ อดุลยฤษฎาภินิร์หาร บูรพาธิการสุสาธิตธันยลักษณ์วิจิตรเสาวภาคยสรรพางค์ มหาชโนตมางคมานท สนธิมตสมันตสมาคม บรมราชสมภาร ทิพยเทพาวตาร ไพศาลเกียรติคุณ อดุลยศักดิเดช สรรพเทเวศปริยานุรักษ มงคลลัคนเนมาหวัย สุโขทัยธรรมราชา อภิเนาวศิลปศึกษาเดชนาวุธ วิชัยยุทธศาสตรโกศล วิมลนรรยพินิต สุจริตสมาจาร ภัทรภิชญาณประดิภานสุนทร ประวรศาสโนปสดมภก มูลมุขมาตยวรนายกมหาเสนานี สราชนาวีพยูหโยธโพยมจร บรมเชษฐโสทรสมมต เอกราชยยศสธิคมบรมราชสมบัติ นพปฏลเศวตฉัตราดิฉัตร ศรีรัตโนปลักษณ มหาบรมราชาภิเษกาภิษิกต์ สรรพทศทิศวิชิตเดโชไชย สกลมไหศวรยมหาสวามินทร มเหศวรมหินทรมหารามาธิราชวโรดม บรมนาถชาติอาชันยาศรัย พุทธาทิไตรรัตนศรณารักษ วิศิษฎศักตอัครนเรศวราธิบดี เมตตากรุณาศีตลหฤทัย อโนปไมยบุณยการ สกลไพศาลมหารัษฎราธิบดินทร์ ปรมินทรธรรมิกมหาราชาธิราช บรมนาถบพิตร พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (25 ກຸມພາ ຄ.ສ. 1926 — 2 ມີນາ ຄ.​ສ. 1935)
  • ສົມເດັດພະບໍຣົມລາຊະປິຕຸລາ ເຈົ້າຟ້າປະຊາທິປົກສັກດິເດດ ກົມຫຼວງສຸໂຂໄທທຳມະລາຊາ ສົມເດັດພະເຈົ້າຢູ່ຫົວລັດຊະການທີ ໗
    สมเด็จพระบรมราชปิตุลา เจ้าฟ้าประชาธิปกศักดิเดชน์ กรมหลวงสุโขทัยธรรมราชา สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๗ (2 ມີນາ ຄ.ສ. 1935 — 30 ພຶດສະພາ ຄ.​ສ. 1941)

ຫຼັງສະຫວັນຄົດ

[ດັດແກ້]
  • ພະບາດສົມເດັດພະປໍຣະມິນທະຣະມະຫາປະຊາທິປົກ ພະປົກເກົ້າເຈົ້າຢູ່ຫົວ
    พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปก พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (24 ພຶດສະພາ ຄ.ສ. 1949)

ພະລາຊະຕະກູນ

[ດັດແກ້]

ອ້າງອິງ

[ດັດແກ້]

ບັນນານຸກົມ

[ດັດແກ້]

ແມ່ແບບ:ເລິ່ມອ້າງອິງ

หนังสือ
  • สมบัติ พลายน้อย, ตามรอยเบื้องพระยุคลบาท พระบาทสมเด็จฯ พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว, พิมพ์ครั้งที่ 4, กรุงเทพฯ : มติชน, 2550 (ISBN 974-02-0044-4)
  • พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์, เกิดวังปารุสก์ : สมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์-สมัยประชาธิปไตย, พิมพ์ครั้งที่ 13, กรุงเทพ : ริเวอร์ บุ๊คส์, 2552 (ISBN 978-974-9863-71-8)
  • พระราชประวัติสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินีในรัชกาลที่ 7, หนังสืออนุสรณ์งานพระบรมศพทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พิมพ์พระราชทานประชาชนในงานพระบรมศพสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินีในรัชกาลที่ 7 ณ พระเมรุมาศท้องสนามหลวง วันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2528
  • พระยาประกาศอักษรกิจ (เสงี่ยม รามนันทน์), จดหมายเหตุบรมราชาภิเษกพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว พุทธศักราช ๒๔๖๘, สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณีฯ โปรดเกล้าฯ ให้พิมพ์เป็นที่ระลึกในการเชิญพระบรมอัฐิเสด็จคืนเข้าสู่พระนคร พุทธศักราช ๒๔๙๒
  • สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์, เจ้านายเล็กๆ - ยุวกษัตริย์, ซิลค์เวอร์ม บุคส์, พิมพ์ครั้งที่ 6 พ.ศ. 2549, 450 หน้า, (ISBN 974-7047-55-1)
  • หม่อมเจ้าพูนพิศมัย ดิศกุล, สิ่งที่ข้าพเจ้าได้พบเห็น (ภาคต้น), สำนักพิมพ์มติชน, พ.ศ. 2543
  • โพยม โรจนวิภาต (อ.ก. รุ่งแสง), พ. 27 สายลับพระปกเกล้า พระปกเกล้าฯ (ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 2) พ.ศ. 2547
  • วิโรจน์ ไตรเพียร, 9 รัชกาลแห่งราชวงศ์จักรี, สำนักพิมพ์ คลังศึกษา,2543,หน้า 90-105
  • ศิลปชัย ชาญเฉลิม, เจ้าฟ้าประชาธิปก ราชันผู้นิราศ, กรุงเทพ, 2530
  • {{{ຊື່ໜັງສື}}}. [ມ.ປ.ທ.] : [ມ.ປ.ພ.], [ມ.ປ.ປ.].
  • Stowe, Judith (1991). Siam Becomes Thailand: A Story of Intrigue. United Kingdom: C. Hurst & Co. Publishers. ISBN 0-8248-1394-4. {{cite book}}: Cite has empty unknown parameter: |coauthors= (help)
เอกสารชั้นต้น
  • รายงานประจำปีกรมรถไฟหลวง พ.ศ. 2470 (เก็บรักษาไว้ที่หอจดหมายเหตุแห่งชาติ)
  • รายงานประจำปีกรมรถไฟหลวง พ.ศ. 2472 (เก็บรักษาไว้ที่หอจดหมายเหตุแห่งชาติ)
  • รายงานประจำปีกรมรถไฟหลวง พ.ศ. 2473 (เก็บรักษาไว้ที่หอจดหมายเหตุแห่งชาติ)
  • รายงานประจำปีกรมรถไฟหลวง พ.ศ. 2474 (เก็บรักษาไว้ที่หอจดหมายเหตุแห่งชาติ)
  • รายงานประจำปีกรมรถไฟหลวง พ.ศ. 2475 (เก็บรักษาไว้ที่หอจดหมายเหตุแห่งชาติ)
  • รายงานประจำปีกรมรถไฟหลวง พ.ศ. 2476 (เก็บรักษาไว้ที่หอจดหมายเหตุแห่งชาติ)
  • รายงานประจำปีกรมรถไฟหลวง พ.ศ. 2477 (เก็บรักษาไว้ที่หอจดหมายเหตุแห่งชาติ)
  • จดหมายเหตุพระราชกิจรายวันในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปก พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 ภาคต้น พิมพ์โดยสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี, กรุงเทพ 2537
  • จดหมายเหตุพระราชกิจรายวันในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปก พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 ภาคปลาย พิมพ์โดยสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี, กรุงเทพ 2537

ແມ່ແບບ:ຈົບອ້າງອິງ

ดูเพิ่ม

[ດັດແກ້]

ແມ່ແບບ:ວິກິຊອດ


ແມ່ແບບ:พระมหากษัตริย์ไทย ແມ່ແບບ:พระราชโอรส-พระราชธิดาในรัชกาลที่ 5 ที่ได้ทรงกรม ແມ່ແບບ:เจ้านายทรงกรมสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ແມ່ແບບ:พระราชโอรสราชวงศ์จักรี ແມ່ແບບ:ชาวไทยยูเนสโก


ອ້າງອິງ

[ດັດແກ້]
  1. ราชกิจจานุเบกษา, ข่าวสมโภชเดือนสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ, เล่ม ๑๐, ตอน ๔๘, ๒๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๑๘๙๓, หน้า ๕๑๕
  2. "พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 (พ.ศ. 2468 - 2477) (ย่อความจาก "พระราชประวัติพระมหากษัตริย์แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์" โดย ม.ร.ว. แสงสูรย์ ลดาวัลย์), เข้าถึงวันที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2554". Archived from the original on 2007-09-15. Retrieved 2017-12-14.
  3. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชพิธีมหามลคลการโสกันต์ และพระราชทานพระสุพรรณบัฏ เฉลิมพระนามสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าประชาธิปกศักดิ์เดชน์และโสกันต์ พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าอุรุพงษ์รัชสมโภช, เล่ม ๒๒, ตอน ๕๐, ๑๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๔๘, หน้า ๑๑๔๐
  4. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศเฉลิมพระนาม, เล่ม ๒๒, ตอน ๕๐, ๑๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๔๘, หน้า ๑๑๔๘
  5. พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว. ประวัติต้นรัชกาลที่ 6. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มติชน, 2550
  6. 6.0 6.1 ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ สถาปนาเลื่อนกรมตั้งกรม และตั้งเจ้าพระยา Archived 2011-11-14 at the Wayback Machine, เล่ม ๔๒, ตอน ๐ ก, ๑๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๖๘, หน้า ๒๑๖
  7. ราชกิจจานุเบกษา, การผนวช สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ากรมขุนสุโขไทยธรรมราชา พระพุทธศักราช ๒๔๖๐, เล่ม ๓๔, ตอน ง, ๘ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๖๐, หน้า ๑๐๕๖
  8. ส. พลายน้อย, หน้า 27
  9. พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์, หน้า 117
  10. สำนักพระราชวัง, พระราชวังบางปะอิน, พิมพ์ครั้งที่ 1, พ.ศ. 2548
  11. พระราชประวัติสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินีในรัชกาลที่ 7, หน้า 7-8
  12. ส.พลายน้อย, หน้า 43
  13. ราชกิจจานุเบกษา, ข่าวพระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราวุธ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จสวรรคต, เล่ม ๔๒, ตอน ๐ ง, ๖ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๖๘, หน้า ๒๗๐๔
  14. พระยาประกาศอักษรกิจ (เสงี่ยม รามนันทน์), หน้า ช
  15. 15.0 15.1 15.2 15.3 15.4 15.5 15.6 ราชกิจจานุเบกษา, พระราชพิธี บรมราชาภิเษกเฉลิมพระราชมณเฑียร ปีฉลูสัปตศก พุทธศักราช ๒๔๖๘ Archived 2011-11-14 at the Wayback Machine, เล่ม ๔๒, ตอนพิเศษ ๐ ก, ๓ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๖๘, หน้า ๑๕๔-๑๕๕
  16. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ สถาปนาสมเด็จพระบรมราชินี, เล่ม ๔๒, ตอน ๐ ก, ๓ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๖๘, หน้า ๓๕๕
  17. พระราชประวัติสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินีในรัชกาลที่ 7, หน้า 15
  18. พระยาประกาศอักษรกิจ (เสงี่ยม รามนันทน์), หน้า ญ
  19. 19.0 19.1 ส.พลายน้อย, หน้า 95
  20. Stowe P.5
  21. ธนพงษ์ โสดานา. 2474 ร่างรัฐธรรมนูญ ของนาย เรมอนด์ บี สตีเวนส์ และพระยาศรีวิสารวาจา พ.ศ. 2474
  22. พระราชประวัติสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินีในรัชกาลที่ 7, หน้า 67
  23. ส.พลายน้อย, หน้า 101
  24. Stowe p.20
  25. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชกฤษฎีกาตั้งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ พุทธศักราช ๒๔๗๖ Archived 2011-11-08 at the Wayback Machine, เล่ม ๕๐, ตอน ๐ ก, ๑๑ มกราคม พ.ศ. ๒๔๗๖, หน้า ๘๓๘
  26. พระปกเกล้าฯ กับคณะราษฎร, หน้า (๕) - (๘)
  27. สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้าฯ กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์, หน้า 214
  28. 28.0 28.1 พระราชหัตถเลขาสละราชสมบัติ พระบาทสมเด็จพระปกเปล้าเจ้าอยู่หัว[dead link]
  29. 29.0 29.1 ธงทอง จันทรางศุ, แผ่นดินพระปกเกล้า[dead link] , สถาบันพระปกเกล้า, เข้าถึงวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2554
  30. พระราชประวัติสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินีในรัชกาลที่ 7, หนังสืออนุสรณ์งานพระบรมศพทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พิมพ์พระราชทานประชาชนในงานพระบรมศพสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินีในรัชกาลที่ 7 ณ พระเมรุมาศท้องสนามหลวง วันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2528
  31. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศ สภาผู้แทนราษฎรรับทราบในการที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปก พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสละราชสมบัติและลงมติเห็นชอบในการอัญเชิญ พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอานันทมหิดล ขึ้นทรงราชย์, เล่ม 51, ตอน 0ก, 7 มีนาคม พ.ศ. 2477, หน้า 1330
  32. คุณหญิงวนิตา ดิถียนต์ และ ดร.ชัชพล ไชยพร, ดวงแก้วแห่งพระมงกุฎเกล้า, อมรินทรพริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง, 2552, ISBN 978-974-9559-96-3
  33. พระราชประวัติสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินีในรัชกาลที่ 7, หนังสืออนุสรณ์งานพระบรมศพทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พิมพ์พระราชทานประชาชนในงานพระบรมศพสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินีในรัชกาลที่ 7 ณ พระเมรุมาศท้องสนามหลวง วันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2528
  34. ส.พลายน้อย, หน้า 210
  35. 35.0 35.1 ราชกิจจานุเบกษา, หมายกำหนดการ พระราชพิธีบำเพ็ญพระราชกุศลทักษิณานุปทานอุทิศถวาย สมเด็จพระบรมราชปิตุลา เจ้าฟ้าฯกรมหลวงสุโขทัยธรรมราชาสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๗ มิถุนายน ๒๔๘๔, เล่ม ๕๘, ตอน ๐ ง , ๑๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๔, หน้า ๑๗๗๐
  36. ส.พลายน้อย, หน้า 211-213
  37. ราชกิจจานุเบกษา, กำหนดการ ที่ ๖/๒๔๙๒ รับพระบรมอัฎฐิพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวและการพระราชกุศลทักษิณานุปทาน ๒๔๙๒, เล่ม ๖๖, ตอน ๒๙ ง, ๒๔ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๙๒, หน้า ๒๒๖๒
  38. ราชกิจจานุเบกษา, กำหนดการ ที่ ๙/๒๔๙๒ บรรจุพระบรมราชสริรางคารพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ๒๔๙๒, เล่ม ๖๖, ตอน๓๔ ง, ๒๘ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๙๒, หน้า ๒๙๓๑
  39. 120 ปี พระบรมราชสมภพ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว, เดลินิวส์, สืบค้นเมื่อ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2556
  40. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ สร้างปฐมบรมราชานุสรณ์, เล่ม ๔๔, ตอน ๐ ก, ๒๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๗๐, หน้า ๓๒๔
  41. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินเพื่อสร้างปฐมบรมราชานุสรณ์ และสร้างคมนาคมเชื่อมจังหวัดพระนครกับธนบุรี, เล่ม ๔๕, ตอน ๐ ก, ๒๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๑, หน้า ๒๓๖
  42. ส. พลายน้อย, หน้า 95
  43. ม.จ.พูนพิศมัย ดิศกุล, หน้า 99
  44. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติองคมนตรี, เล่ม ๔๔, ตอน ๐ ก, ๕ กันยายน พ.ศ. ๒๔๗๐, หน้า ๒๐๕
  45. ทวีศักดิ์ ตั้งปฐมวงศ์. การเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 : การปฏิวัติที่ถูกนิยามใหม่ The Changing of the ruling in 1932 : The new definition revolution. วารสารมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ปีที่ 31 ฉบับที่ 3. หน้า 43.
  46. จิตตะเสน ปัญจะ. พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวสั่งประหารคณะผู้ก่อการ ๒๔๗๕. ปาจารยสาร. ฉบับที่ 1 ปีที่ 26. หน้า 78-81. เข้าถึงได้จาก ลิงก์นี้[dead link]
  47. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความการสร้างพระไตรปิฎกฉบับพิมพ์ เป็นอนุสาวรีย์เชิดชูพระเกียรติยศ พระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราวุธ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว, เล่ม ๔๒, ตอน ๐ ง, ๒๗ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๖๘, หน้า ๒๙๘๑
  48. ราชกิจจานุเบกษา, รายงานการสร้างพระไตรปิฎก, เล่ม ๔๔, ตอน ง, ๔ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๗๐, หน้า ๓๙๒๗
  49. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศ ตั้งราชบัณฑิตย์สภา, เล่ม ๔๓, ตอน๐ ก, ๒๕ เมษายน พ.ศ. ๒๔๖๙, หน้า ๑๐๒
  50. ส.พลายน้อย, หน้า 201
  51. อันเนื่องมาจากความรักของพระปกเกล้าฯ Archived 2016-12-15 at the Wayback Machine, สำนักการศึกษาต่อเนื่อง มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, สืบค้นวันที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2556
  52. "รายงานการวิจัยเรื่อง อธิปไตยเหนือแมน้ำโขงจากพ.ศ. 2436 ถึง ปจจุบัน การศึกษาเชิงประวัติศาสตร์" (PDF). สุวิทย ธีรศาศวัต. มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 2551. Archived from the original (PDF) on 2016-03-04. Retrieved 19 สิงหาคม พ.ศ. 2557. {{cite web}}: Check date values in: |accessdate= and |year= (help); line feed character in |title= at position 21 (help)
  53. "ปัญหาพรมแดนด้านประเทศ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว" (PDF). รศ.ดร.จุมพล วิเชียรศิลป. มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์. Archived from the original (PDF) on 2016-03-05. Retrieved 19 สิงหาคม พ.ศ. 2557. {{cite web}}: Check date values in: |accessdate= (help)
  54. "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง วันพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (วันที่ ๓๐ พฤษภาคมของทุกปี)" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 2545. Archived from the original (PDF) on 2015-06-06. Retrieved 21 มิถุนายน พ.ศ. 2557. {{cite web}}: Check date values in: |accessdate= and |year= (help)
  55. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศพระราชทานนามวัง, เล่ม ๓๕, ตอน ๐ก, ๓ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๖๑, หน้า ๒๔๗
  56. พจนานุกรมวิสามานยนามไทย วัด วัง ถนน, ราชบัณฑิตยสถาน, หน้า 250
  57. สถาบันพระปกเกล้า : ประวัติความเป็นมา Archived 2010-02-09 at the Wayback Machine, เว็บไซต์สถาบันพระปกเกล้า, เข้าถึงวันที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2554
  58. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช : ความเป็นมา Archived 2017-12-05 at the Wayback Machine, เว็บไซต์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, เข้าถึงวันที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2554
  59. 59.0 59.1 หนังสือ ๗๒ ปี โรงพยาบาลพระปกเกล้า. บริษัทจามจุรีโปรดักท์ 26. 2555. ISBN 978-616-11-1165-6. {{cite book}}: Check date values in: |year= (help); Cite has empty unknown parameter: |coauthors= (help)
  60. ส.พลายน้อย, หน้า 221
  61. "ประวัติอาคารพิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว". สถาบันพระปกเกล้า. Retrieved 21 มิถุนายน พ.ศ. 2557. {{cite web}}: Check date values in: |accessdate= (help)[dead link]
  62. "รีวิวของพิพิธภัณฑ์อาคารที่ประทับประชาธิปกศักดิเดชน์". ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย. ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน). Retrieved 21 มิถุนายน พ.ศ. 2557. {{cite web}}: Check date values in: |accessdate= (help)[dead link]
  63. "พิพิธภัณฑ์สถาน พระปกเกล้ารำไพพรรณี เฉลิมพระเกียรติ". วิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี. Archived from the original on 2011-05-10. Retrieved 22 มิถุนายน พ.ศ. 2557. {{cite web}}: Check date values in: |accessdate= (help)
  64. "ประกาศ พระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราวุธพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จสวรรคต" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา (in ไทย). 42 (0 ก): 230. 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468. Retrieved 10 มีนาคม 2560. {{cite journal}}: Check date values in: |accessdate= and |date= (help)CS1 maint: unrecognized language (link)
  65. ราชกิจจานุเบกษา, กำหนดการ ที่ ๖/๒๔๙๒ รับพระบรมอัฎฐิพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวและการพระราชกุศลทักษิณานุปทาน ๒๔๙๒, เล่ม ๖๖, ตอน ๒๙ ง, ๒๔ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๙๒, หน้า ๒๒๖๒
  66. พระราชลัญจกรประจำรัชกาล, สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  67. พระราชลัญจกรประจำพระองค์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว Archived 2011-09-14 at the Wayback Machine, พิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
  68. "พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงได้รับยกย่องเป็นบุคคลสำคัญของโลก work=". เดลินิวส์. 2556. Retrieved 21 มิถุนายน พ.ศ. 2557. {{cite web}}: Check date values in: |accessdate= and |year= (help); Missing pipe in: |title= (help)
  69. "ยูเนสโกยก'ร.7'-'พระศรีพัชรินทราฯ'-'หม่อมงามจิตต์'บุคคลสำคัญโลก work=". ข่าวสด. 2556. Retrieved 21 มิถุนายน พ.ศ. 2557. {{cite web}}: Check date values in: |accessdate= and |year= (help); Missing pipe in: |title= (help)